แชร์

หยก (JADES)

อัพเดทล่าสุด: 9 ส.ค. 2024
141 ผู้เข้าชม
หยก (JADES)

   หยก (JADES) มาจากภาษาจีนแมนดารินออกเสียงว่า หยู หรือ ยู่ หมายถึง งดงามและทนทาน ในภาษาอังกฤษออกเสียงเป็น เจด (Jade) โดยทั่วไป หยก หมายถึง หินสีเขียวที่มีเนื้อกึ่งโปร่งแสงใสถึงเกือบทึบแสง มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น หยกพม่า หยกจีน หยกโมรา หยกอินเดีย เป็นต้น

   ในทางอัญมณีศาสตร์ หยก หมายถึงหินที่ประกอบด้วยแร่เจดไดต์ (Jadeite) หรือ แร่เนฟไฟรต์ (Nephrite) เป็นส่วนประกอบหลัก ถ้าประกอบด้วยแร่เจดไดต์เป็นหลัก เรียกว่า หยกเจดไดต์ (Jadeite jade) ถ้าประกอบด้วยแร่เนฟไฟรต์ เรียกว่า หยกเนฟไฟรต์ (Nephrite jade) แต่หยกเจดไดต์ (Jadeite jade) เป็นหยกที่หายากและมีราคาแพงกว่าหยกแร่เนฟไฟรต์ (Nephrite jade) ในการซื้อขายจะถือว่าหยกที่มีแร่เจดไดต์และหยกเนฟไฟรต์เป็นหยกแท้ ชื่อแร่เจดไดต์ (Jadeite) ก็มาจากคำว่า Jade นั่นเอง

   หยกจัดเป็นหิน เพราะไม่ได้เกิดเป็นผลึกเดี่ยว ประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดจุลภาค (Cryptocrystalline) มารวมตัวกันแน่น เมื่อขยายดูเนื้อหยกด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นเนื้อหยกเจดไดต์เป็นมวลเม็ดอัดแน่น (Granular) ส่วนเนื้อหยกเนฟไฟรต์เป็นแบบเส้นใยสานกันแน่น ดังนั้นหยกเนฟไฟรต์จึงเหนียวกว่าหยกเจดไดต์ กล่าวได้ว่าหยกแข็งกว่าหินและเหนียวกว่าเหล็ก หยกมีเนื้อไม่โปร่งใสอย่างเช่นพลอยทั่วไป แต่มีเนื้อเหนียวกว่า ไม่เปราะแตกง่าย เมื่อเทียบกับพลอยเนื้อใสที่เป็นผลึกเดี่ยว


หยกเจดไดต์

(Jadeite jade)

   หยกเจดไดต์ (Jadeite jade) เป็นหยกที่มีเนื้อใสกว่าหยกเนฟไฟรต์ พบเพียงไม่กี่แหล่ง ทั่วโลก เป็นหยกมีราคาสูงกว่าหยกชนิดอื่น หยกเจดไดต์คุณภาพดีส่วนใหญ่มาจาก ประเทศพม่า ในการซื้อขายจึงมักเรียกหยกเจดไดต์ว่า หยกพม่า (Burmese jade)

   ตระกูลแร่

   หยกเจดไดต์ เป็นแร่ในกลุ่มไพร็อคซีนมีสูตรเคมีเป็น NaAlSi2 O6 โครงสร้างผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic System) แต่มักไม่ เกิดเป็นผลึกเดี่ยว จะเกิดเป็นจุลผลึกอัดรวมกันเป็นแบบมวลเม็ด

    แหล่งที่พบ

   แหล่งที่สําคัญของหยกเจดไดต์ คือประเทศพม่า และแหล่งอื่น ๆ เช่น กัวเตมาลา ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา แต่เป็นเจดไดต์คุณภาพต่ํา

   คุณสมบัติทั่วไป

   อันดับความแข็ง 8.5-7 ค่าดัชนีหักเห 1.66 ความถ่วงจําเพาะ 3.3

    คุณสมบัติเฉพาะตัว

   หยกเจดไดต์มีเนื้อใสกว่าและมีสีหลากหลายกว่าหยกเนฟไฟรต์ เช่น สีเขียว สีม่วง สีน้ำตาล สีเหลือง สีของหยกเจดไดต์มาจากธาตุโลหะที่แทรกอยู่ ในโครงสร้าง ถ้าไม่มีธาตุโลหะหรือเป็นเจดไดต์บริสุทธิ์จะมีสีขาวและเนื้อใส ธาตุโลหะที่ทําให้เกิดสีในหยกเจดไดต์ ได้แก่

ธาตุโครเมียม     ให้สีเขียว

ธาตุเหล็ก           ให้สีเหลือง น้ำตาล ถึงส้ม

ธาตุแมงกานีส    ให้สีชมพู และม่วงนน้ำตาล

 หยกเจดไดต์ที่ซื้อขายในท้องตลาด มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ตามชนิดสีและ ความใสของเนื้อหยก ดังนี้

   หยกจักรพรรดิ (Imperial jade) เป็นหยกที่มีคุณภาพดีที่สุด มีสีเขียว ปานกลางถึงเขียวเข้ม สีกระจายเรียบ สม่ำเสมอทั้งเม็ด กึ่งโปร่งใสจนมองทะลุ ไปถึงด้านหลังได้     

   หยกยูนนาน (Yunan jade) มีสีเขียวเข้ม กึ่งโปร่งแสงจนถึงเกือบทึบแสง จึงมักเจียระไนเป็นแผ่นบาง ๆ มีแหล่ง อยู่ที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน

   หยกลาเวนเดอร์ (Lavender jade) เป็นหยกที่มีสีม่วงอ่อน เนื้อกึ่ง โปร่งแสงถึงโปร่งแสง

   หยกลายมอสในหิมะ (Moss in snow jade) เป็นหยกสีขาวเนื้อ โปร่งแสงถึงเกือบทึบแสง มีสีเขียวอยู่ประปรายเป็นหย่อม ๆ คล้ายต้นมอสขึ้น บนพื้นหิมะ

   หยกกระดูกไก่ (Chicken-bone jade) เป็นหยกเนื้อทึบ มีสีขาวถึง สีเทาคล้ายกระดูก

   หยกลายทองคํา (Galactic gold jade) เป็นหยกที่มีเนื้อสีดําและสีทองคําประปรายอยู่ในเนื้อ สีทองคํามาจากผลึกแร่ไพไรต์ ส่วนสีดําของเนื้อหยกคงเนื่องจากมีมลทินเหล็กปนอยู่มาก

   รูปทรงนิยมในการเจียระไน เจียระไนทรงหลังเบี้ย และนิยมนํามาแกะสลักเป็น พระพุทธรูป ใช้ทําแหวน กําไล และลูกปัด

    ระดับความนิยมในโลกอัญมณี หยกเจดไดต์เป็นที่นิยมมากในบรรดา "หยก" ทั้งหลาย โดยเฉพาะหยก จักรพรรดิเป็นที่ต้องการมากที่สุด บางชิ้นมีราคาสูงเท่าเทียมกับไพลินน้ำดีเลยทีเดียว หยกคุณภาพดียังเป็นที่ต้องการอีกมากของตลาดอัญมณี

   หยกที่มีคุณภาพดี ควรประกอบด้วย คุณสมบัติธรรมชาติสามประการหลัก หรือ 3T ได้แก่ 1) Tone ได้แก่ ความเข้มของสีชัดเจน และสม่ำเสมอทั้งก้อน 2) Transparency หมายถึง ความโปร่งแสง แสงส่องผ่านได้ และ 3) Texture หมายถึงลักษณะเนื้อที่เนียนเรียบ นอกจากนั้นควรตรวจสอบว่า เป็นหยกที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพหรือไม่ เพราะหยกที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ มีราคาต่ำกว่าหยกที่ ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ

     ความเชื่อ ชาวจีนยึดถือหยกเป็นสมบัติประจําตระกูล หยกได้รับความนิยมนํามาใช้เป็นเครื่องประดับและเครื่องรางของขลัง

    การดูแลรักษา หลีกเลี่ยงการถูกเปลวไฟความร้อนสูงเพราะหลอมได้ หลีกเลี่ยงการถูกกรดและสารเคมีใด ๆ เพราะอาจทําปฏิกิริยาอย่างอ่อน ๆ ได้

     การปรับปรุงคุณภาพ

วิธีที่นิยมใช้ปรับปรุงคุณภาพสีและความใสของเนื้อหยก มี 3 วิธี ได้แก่

   การย้อมสี ก่อนนําไปย้อมสีมักนําหยกไปกัดผิวหรือผ่านการอบให้ร้อนก่อน เพื่อให้สีย้อมซึมเข้าเนื้อหยกได้มากขึ้น

   การอุดด้วยสารไร้สี สารไร้สีที่นิยมคือ พาราฟิน ใช้อุดตามรอยแตกทําให้ เนื้อใสและเนียนขึ้น

   การเผา โดยนําหยกที่มีมลทินสีเหลืองหรือสีน้ำตาลมาเผาเพื่อให้เปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมแดง

   ในทางการซื้อขายหยกทั่วไป มีการแบ่งหยกเป็น 3 เกรด ตามลักษณะ เนื้อหยก ดังนี้

   หยกเกรด A เป็นหยกที่ไม่ได้ผ่านการปรุงแต่งใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากเคลือบผิวด้วยขี้ผึ้ง สีหยกเป็นสีตามธรรมชาติ ไม่มีการย้อมสีหรือฟอกสี เป็นหยกที่มีคุณภาพดีตามธรรมชาติ จึงมีราคาสูง

   หยกเกรด B เป็นหยกที่ผ่านการฟอกสีมาแล้ว โดยใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ เป็นกรดหรือกรดอินทรีย์กัดที่ผิวหยก เพื่อขจัดตําหนิ หรือสีที่ไม่ต้องการ ทําให้เนื้อหยกดูโปร่งแสงขึ้นและสีเขียวสดขึ้น แล้วนําไปเคลือบผิวด้วย ขี้ผึ้ง เมื่อตรวจดูผิวหยกด้วยกล้องขยายกําลังสูงตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะเห็นว่า ผิวหยกเป็นลายแตกระแหง เนื่องจากถูกกัดด้วยกรด

   หยกเกรด C เป็นหยกย้อมสี เพื่อให้ดูเหมือนหยกคุณภาพดี หยก เกรด C เป็นหยกคุณภาพต่ำ เพราะเป็นหยกย้อม เมื่อดูด้วยกล้องขยายกําลังสูงตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะเห็นสีเขียวกระจุกเป็นที่ ๆ โดยเฉพาะตามรอยแตก วิธีตรวจขั้นต้นคือใช้สําลีชุบน้ำชื้น ๆ ห่อเม็ดหยกไว้ประมาณ 2-3 คืน ถ้ามี สีเขียวติดที่สําลีแสดงว่าเป็นหยกย้อม ก่อนตรวจสอบควรเอาขี้ผึ้งที่อาจเคลือบไว้ ที่ผิวออกก่อน โดยใช้สําลีชุบน้ำมันหรือน้ำอุ่นเช็ดทําความสะอาด ถ้าเอาหยกนี้ ไปต้มในน้ำร้อนหรือในกรด สีที่ย้อมจะหลุดออกเกือบหมด

   หยกเกรด B+C เป็นหยกย้อมสีและฟอกสี เมื่อย้อมสีแล้ว น่าหยกไป ฟอกสีอย่างอ่อน ๆ ทําให้หยกเนื้อใสขึ้นและมีสีเขียวสดคล้ายหยกเกรด A การ ตรวจสอบหยกชนิดนี้ค่อนข้างยาก เพราะสีที่กระจุกตามรอยแตกถูกล้างออกไป โดยเฉพาะถ้าเป็นสีย้อมที่ทําจากสารสกัดจากธรรมชาติ เมื่อสีทําปฏิกิริยากับเนื้อหยกแล้ว การพิสูจน์ยิ่งยากขึ้น หยกย้อมสี ไม่ว่าด้วย วิธีการใด สีเขียวสดของหยกจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีออกน้ำตาลเหลือง ทําให้ผิวหยกดูคล้ำลงในภายหลัง

   การสังเคราะห์ ยังไม่พบหยกสังเคราะห์

   อัญมณีเทียบเคียง มีหลายชนิดได้แก่ อะเวนจูรีนควอตซ์ (Aventu rine quartz) คริสโซเพรส (Chrysoprase) หินควอตไซต์ย้อมสี (Dyed green quartz- ite) กรอสซูล่าสีเขียว (Green grossular) เซอร์เพนทีน (Serpentine) หินอ่อนย้อมสี (Dyed marble) พลาสติกและแก้ว สีเขียว (Green colored plastic and glass) เมา-ซิท ซิท (Maw-sit-sit) และ ซอสซูไรต์ (Saussurite)


     การตรวจสอบ

    อะเวนจูรีนควอตซ์ ที่จริงแล้วอะเวนจูรีน ควอตซ์ เป็นหินชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วย มวลเม็ดแร่ควอตซ์อัดกันแน่น เรียกว่า หินควอตไซต์ (Quartzite) ส่วนคําว่า อะเวนจูรีน หมายถึง ประกายระยิบระยับ โดยทั่วไปแล้ว หินควอตไซต์มีโทนสีขาว การที่ มีสีเขียว เพราะมีแผ่นแร่ไมกาฟุชไซต์ (Fuchsite) กระจายอยู่ในเนื้อหิน อะเวนจูรีนควอตซ์มีลักษณะ คล้ายกับหยกเนฟไฟรต์มาก บางที เรียก หยกอินเดีย

  

   ควอตไซต์ย้อมสี ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ควอตไซต์เป็นหินที่มีโทนสีขาวและเนื้อ ค่อนข้างใส จึงมีการนําเอาหินควอตไซต์ มาอัดด้วยเรซินสีเขียว โดยให้เรซินไหล ซึมเข้าไปในรอยแตกหรือช่องระหว่างเม็ดแร่ควอตซ์ ทําให้เนื้อหินเป็นสีเขียวสด เนื้อใสคล้ายกับหยกพม่าเนื้อดี สีเขียวจากเรซิน ไม่ละลายน้ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ สีเขียวอาจค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นสีเขียวน้ำตาล เนื่องจากเมื่อเรซินเสื่อมสภาพ เรซินจะกลายเป็นสีเหลืองและเมื่อปนกับสีเขียวจะกลายเป็นสีน้ำตาล ให้สังเกตอย่างง่าย ๆ ว่าสีเขียวมักเข้มมาก ตามรอยแตกหรือตามเม็ดแร่เท่านั้น และจะเห็นได้ชัดขึ้น ถ้าให้แสงสว่างส่องผ่าน ก้อนหยก

    คริสโซเพรส เป็นแร่ในกลุ่ม แคลซิโดนี (Chalcedony) ซึ่งเป็น ตระกูลแร่ควอตซ์ชนิดมหจุลภาค ส่วนใหญ่ มีสีเขียวแอปเปิล เขียวอมเหลือง ถึงเขียวปนน้ำตาล สีเขียวเกิดจากธาตุนิเกิลที่แทรกอยู่ตามผลึกแร่ บางทีเรียก หยกโมรา คริสโซเพรสได้รับความนิยมมากในประเทศ ญี่ปุ่น เพราะมีสีเขียวนวลค่อนข้างสม่ำเสมอและเนื้อแข็งกว่าหยกเจดไดต์ และ หยกเนฟไฟรต์ ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่ส่งออกคริสโซเพรสที่มี คุณภาพดีเป็นที่รู้จักกัน ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า หยกออสเตรเลีย

   กรอสซูล่าสีเขียว เป็นแร่ในตระกูลการ์เนต มีได้หลายสีรวมถึงสีเขียวที่คล้าย คลึงหยก จนได้ชื่อว่า หยกทรานส์วาล (Transvaal jade) แต่หยกชนิดนี้ มักมีมลทินสีดําปะปนอยู่ ในการแยกหยกกรอสซูล่าออกจากหยกเนฟไฟรต์และ เจดไดต์ให้สังเกตจากน้ำหนัก กรอสซูล่าหนักกว่า และค่าดัชนีหักเหสูงกว่าหยกเจดไดต์ และเนฟไฟรต์อย่างชัดเจน

   แก้วและพลาสติก ที่ทําออกมาเลียนหยกธรรมชาติ มีมากมายในท้องตลาด แต่สามารถแยกออกจากหยกธรรมชาติได้อย่างชัดเจน สังเกตว่าหยกพลาสติกมีน้ำหนักเบาผิดปกติและมีฟองอากาศอยู่มาก อาจเห็นสีเขียว ค่อนอยู่เป็นจุด ๆ อีกชนิดคือ หยกเทียมที่ทําจากแก้วหลอม ใส่สารสีเขียว มีลักษณะคล้ายหยกธรรมชาติมากกว่า แต่ให้สังเกตฟองอากาศ อาจต้องใช้เลนส์ขยาย วิธีสังเกตอีกประการคือ หยกเทียมที่ทําด้วยแก้วหรือพลาสติกมักให้ รสสัมผัสที่ "อุ่น" กว่าหยกแท้ เพราะเนื้อหยกประกอบด้วยผลึกแร่ที่อัดกันเป็นมวลเม็ด ผลึกมีคุณสมบัติการนําความร้อนได้ดีกว่าเนื้อแก้ว หรือพลาสติกที่เนื้อไม่เป็นสารผลึก (อสัณฐาน) ดังนั้น หยกแท้จึงให้สัมผัสที่ เย็น กว่า

หยกไนฟไฟรต์ (Nephrite jade)

หยกเนฟไฟรต์ ส่วนใหญ่เนื้อทึบและสีเข้มกว่าหยกเจดไดต์ เป็นที่รู้จักกัน มานานควบคู่กับหยกเจดไดต์ หยกเนฟไฟรต์มาจากหลายแหล่ง และมีชื่อเรียก อื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น หยกไต้หวัน หยกนิวซีแลนด์ หินเขียวนิวซีแลนด์ (New ๆ Zealand Greenstone) หยกเนฟไฟรต์นิยมนํามาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป และเทพเจ้า เช่น พระแก้วมรกต ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพรักบูชาของคนไทยทั้งชาติ และถือว่าเป็นของคู่บ้านคู่เมือง เชื่อกันว่า ทําจากหยกเนฟไฟรต์เนื้อดี ที่มีสีเขียวคล้ายมรกต

   ตระกูลแร่

   หยกเนฟไฟรต์ เป็นแร่ในอนุกรมแร่แอมฟิโบล (Amphibole) มีส่วนประกอบอยู่ระหว่างแร่แอคติโนไลต์-ทรีโมไลต์ (Actinolite tremolite) มีสูตรเคมีเป็น Ca2(Mg,Fe)5 Si8gO22 (OH)2 โครงสร้างผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic system) เช่นเดียวกับหยกเจดไดต์

   แหล่งที่พบ

   แหล่งที่สําคัญของหยก เนฟไฟรต์ คือ ประเทศไต้หวัน แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รองลงมาได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย

   คุณสมบัติทั่วไป

   6 อันดับความแข็ง 5-6 ค่าดัชนีหักเห 1.61 ความถ่วงจําเพาะ 2.9-3.1

   คุณสมบัติเฉพาะตัว

   หยกเนฟไฟรต์มีเนื้อเหนียวกว่า เพราะเนื้อของหยกเนฟไฟรต์ประกอบด้วยผลึกแร่รูปแท่งยาวคล้ายเข็มหรือเส้นใยประสานกันแน่น เนื้อทึบแสงกว่า และมีความวาวคล้ายน้ำมันฉาบผิว หรือคล้ายขี้ผึ้ง สีไม่นุ่มนวลเหมือนหยกเจดไดต์ และมีสีต่างๆ ต่อไปนี้เท่านั้น คือ สีขาว สีเขียว สีน้ำตาล และสีเทา หยกเนฟไฟรต์มักมีจุดดํา ๆ ของเหล็กออกไซด์ประปรายทั่วเนื้อ

   รูปทรงนิยมในการเจียระไน

   เพราะเป็นหยกเนื้อเหนียวจึงนิยมนํามาใช้กับงานแกะสลักที่ต้องใช้ความประณีตมาก เช่น รูปปั้นเทพเจ้าของจีน หรือทําแจกันเนื้อบาง เป็นต้น นอกนั้นนํามาทําเครื่องประดับ เช่น ทําแหวน กําไล ลูกปัด ทําเป็นเครื่องใช้ เช่น ถ้วย แก้ว จาน ที่ประทับตรา สําหรับคนชั้นสูง



   ระดับความนิยมในโลกอัญมณี

เป็นหยกที่ได้รับความนิยมไม่น้อยไปกว่าหยกเจดไดต์ โดยทั่วไป ราคาหยกเนฟไฟรต์ถูกกว่าหยกเจดไดต์บ้าง คงเป็นเพราะหาง่ายและมีเนื้อทึบ กว่าหยกเจดไดต์

   ความเชื่อ

   ชาวจีนใช้หยกเนฟไฟรต์มาเป็นเวลานานแล้ว สร้อยข้อมือหยกเนฟไฟรต์ หยกเนฟไฟรต์มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า หยกไต้หวัน ชาวจีนยึดถือหยกเป็นสมบัติประจํา ตระกูล หยกได้รับความนิยมนํามาใช้เป็นเครื่องประดับและเครื่องรางของขลัง เพราะมีสีเขียวที่เห็นแล้วรู้สึกเย็นตาเย็นใจ

   การดูแลรักษา

 
 หลีกเลี่ยงการถูกเปลวไฟความร้อนสูงและสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรด

   การปรับปรุงคุณภาพ

   โดยทั่วไป หยกเนฟไฟรต์ไม่ค่อยผ่านการปรับปรุงคุณภาพมากเท่ากับ หยกเจดไดต์ จุดประสงค์หลักในการปรับปรุงคุณภาพหยกเนฟไฟรต์คือการทําให้สีเขียวจางลงบ้าง หรือทําให้จุดด่างดําลดลง มี 3 วิธี คือ การย้อมด้วยสีอ่อนกว่า การอัดด้วยขี้ผึ้งพาราฟิน และการเผา

   การสังเคราะห์

ยังไม่พบหยกเนฟไฟรต์สังเคราะห์

   อัญมณีเทียบเคียง

 
 เซอร์เพนทีน เมา ซิท ซิท มาลาไคต์

   เซอร์เพนทีน
เป็นแร่สีเขียวคล้ายสีของงูเขียว จึงเป็นที่มาของชื่อ เพราะ คําว่า เซอร์เพน (Serpent) มาจากภาษาอังกฤษ แปลว่า งูเขียว เอกลักษณ์ ของเซอร์เพนทีน คือ มีเนื้อคล้ายขี้ผึ้งแต่แข็งกว่าขี้ผึ้งมาก เล็บขูดไม่เข้า กึ่งโปร่งแสงจนถึงทึบแสง สีเขียวมีหลายเฉด ตั้งแต่สีเขียวเข้มปนสีดํา จนถึงสีเขียวอ่อนคล้ายสีเขียวแอปเปิล เรียกว่า หยกเซอร์เพนทีน ด้วยความแข็งต่ำในอันดับ 4.5-5 แต่มีความเหนียวสูง จึงนิยมนําเซอร์เพนทีน มาแกะสลักเป็นรูปร่างต่าง ๆ มากกว่านํา มาเจียระไนเป็นเครื่องประดับหรือทําเครื่องใช้ ดังนั้น หยกแกะสลัก รูปต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ ช่อดอกไม้ แจกัน รูปเทพเจ้า ลูกปัด กําไล และอื่น ๆ

ตามท้องตลาด พบว่าเป็นหยกเซอร์เพนทีนมากกว่าเป็นหยกพม่าหรือหยกใตหวัน เพราะหยกเซอร์เพนทีนมีราคาต่ำกว่าและแกะสลักได้ง่ายกว่า เมา ซิท ซิท เป็นหินที่ประกอบด้วยแร่หลายชนิด เช่น อูรีไยต์ (Ureyite) แร่แอมฟิโบล (Amphipole) แร่คลอไรต์ (Chlorite) แร่เฟลด์สปาร์ (Feldspar) และ แร่อื่น ๆ มีอัตราส่วนผสมของแร่ไม่แน่นอน ทําให้หินชนิด นี้มีโทนสีเขียวต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่มีสีเขียวเข้ม เนื้อทึบ คล้ายมาลาไคต์ แต่เมา ซิท ซิท มักมีแต้มสีดําหรือสายสีดําประปรายในเนื้อหิน แหล่งที่สําคัญของเมา ซิท ซิท คือประเทศพม่า

   มาลาไคต์ เป็นหินเนื้อทึบสีเขียวเข้มสะดุดตา ถ้าเกิดเป็นแบบก้อนมักมีลายแถบ มีส่วนประกอบ เป็นทองแดงคาร์บอเนตและน้ำ ทําให้รู้สึกเย็นเมื่อ สัมผัส จึงมีผู้นิยมนําเอามาลาไคต์มาทําเป็นกําไล หรือลูกปัด ทําสร้อยข้อมือและสร้อยคอ โดยเชื่อว่าช่วยให้หายจากโรคไขข้อกระดูกอักเสบ และลดอาการจากพิษไข้ได้ มาลาไคต์มีความแข็งในอันดับ 3.5-4 เท่านั้น ต้องระวังการถูกขีดข่วนและ อย่าให้ถูกสารเคมีใด ๆ โดยเฉพาะกรด เพราะทําให้มาลาไคต์สึกกร่อนได้

Tags :
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลอยสตาร์  STAR GAMSTONES
พลอยที่เชื่อว่าเป็นตัวแทนของดวงตาที่คอลระแวดระวังภัยอันตรายและขับไล่สิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าใกล้ผู้ครอบครอง
พลอยสตาร์  STAR GAMSTONES
พลอยสตาร์เป็นพลอยที่เทพเจ้าประทานให้กับมนุษย์เพื่อเป็นตัวแทนดวงดาวบนฟากฟ้า พลอยสตาร์จึงมีพลังของเทพเจ้า
มรกต-เบอริล
มรกตเป็นอัญมณีราคาแพงที่สุดในบรรดาอัญมณีสีเขียว เชื่อว่าเป็นตัวแทนของความรักและความซื่อสัตย์ และยังเชื่อว่าช่วยถนอมสายตาด้วย
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy