แชร์

มรกต-เบอริล

อัพเดทล่าสุด: 17 ก.ค. 2024
47 ผู้เข้าชม
มรกต-เบอริล

มรกต เป็นพลอยเนื้อใสสีเขียวเข้มสะดุดตา เป็นที่รู้จักมาหลายพันปีแล้วชาวบาบีลอนยกย่องมรกตว่าเป็นอัญมณีของเทพเจ้าวีนัส มรกตเป็นอัญมณีที่
เชื่อกันว่าเป็นตัวแทนความรัก ความชื่อสัตย์ ถึงกับกล่าวว่า ถ้าสีของมรกตเรืมจางลง แสดงถึงความรักที่จึดจางลงไปด้วย มรกตเป็นอัญมณีที่มีราคาสูงโดยเฉพาะมรกตขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2 กะรัตขึ้นไปและมีสีเขียวสดเนื้อใสสะอาดปัจจุบันมักเรียกพลอยอื่นที่มีสีเขียวสดว่ามรกตกันอย่างผิด ๆ เช่น มรกตจันทร์ มรกตแอฟริกา มรกตอินเดีย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มรกตมีคุณลักษณะเฉพาะตัวที่สามารถแยกออกจากพลอยสีเขียวชนิดอื่นได้ไม่ยากนัก


ตระกูลแร่
มรกต จัดอยู่ในตระกูลแร่เบอริล (Beryl) มีสูตรเคมีเป็น Be3 Al2 Si6 018 มรกตมักเกิดเป็นผลึกรูปแท่งหกเหลี่ยม หัวท้ายตัด เป็นรูปผลึกในระบบฐาน
หกเหลี่ยม (Hexagonal system)

แหล่งที่พบ
แหล่งที่สำคัญได้แก่ ประเทศโคลัมเบีย เป็นแหล่งมรกตที่มีชื่อที่สุดของโลก และผลิตมรกตคุณภาพดีที่สุดมรกตจากโคลัมเบียมีสีเขียวเข้มสดกว่ามรกตจากแหล่งอื่น ๆ ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านมรกตจะสามารถแยกมรกตจากโคลัมเบีย ออกจากมรกตแหล่งอื่น ๆ โดยใช้โทนสี และความสุดของสีเท่านั้น มรกตโคลัมเบียมักมีผลึกแร่ไพไรต์เป็นมลทินข้างในสำหรับมรกตจากแหล่งอื่น เช่น ประเทศบราซิล และประเทศแชมเบียถึงแม้เป็นแหล่งที่ผลิตมรกตได้มาก และได้มรกตขนาดใหญ่ แต่คุณภาพต่ำกว่ามรกตโคล้มเบีย นอกนั้นมาจากประเทศรัสเซีย และประเทศอัฟกานิสถานมรกตจากประเทศซานดาวานา มีสีเขียวเข้มสดสวยงาม แต่มักมีขนาดเล็กและมีมลทินมากกว่ามรกตโคลัมเบีย ซึ่งมลทินเป็นรูปเข็มของผลึกแร่ทรีโมไลต์ (Tremolite) จนดูเนื้อค่อนข้างขุ่น


คุณสมบัติทั่วไป
อันดับความแข็ง 7.5-6.5 ค่าดัชนีหักเห 1.56-1.60 ความถ่วงจำเพาะ 2.7


คุณสมบัติเฉพาะตัว
         สีเขียวมรกตเกิดจากการแทรกเข้ามาของธาตุโครเมียม (Cr) เป็นธาตุชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดสีแดงในทับทิม มรกตธรรมชาติมีมลทินหรือตำหนิเกือบทั้งนั้น มรกตเนื้อใสสะอาดจริง ๆ หายากมาก มลทินผลึกแร่ที่พบบ่อยได้แก่ผลึกแร่ไพไรต์ มองเห็นเป็นผลึกรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ เมื่อส่องกระทบไฟจะสะท้อนแสงคล้ายสีทองเหลือง มลทินอีกชนิดที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของมรกตคือมลทินสามสถานะ (Three-phase inclusions) มีลักษณะเป็นฟองอากาศรูปร่างต่าง ๆ ภายในมีผลึกแร่ และของเหลวอยู่รวมเป็นสามสถานะของมลหินที่อยู่ด้วยกัน
         มรกตมักมีรอยร้าวมาก เมื่อเจียระไนแล้วได้ขนาดเล็ก ดังนั้นมรกตเจียระไนที่มีขนาดเกิน 4 กะรัต จัดเป็นมรกตขนาดใหญ่ที่หายาก และมีราคาแพงมาก ถ้ามรกตใดที่ใสไม่มีมลทินเลย ควรตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่า เป็นมรกตเทียมถ้าเป็นผลึกมรกตธรรมชาติ ให้สังเกตร่องถี่ ๆ ขนานตามแนวยาวผลึกถ้ามีสีเขียวอ่อน หรือออกจาง ๆ ไม่จัดเป็นมรกต แต่เรียกว่า พลอยเบอริลสีเขียว (Green beryl)


รูปทรงนิยมในการเจียระไน
มรกตจัดเป็นพลอยที่เจียระไนยากที่สุด เพราะมีรอยร้าวมาก ต้องเจียระไนอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงรอยร้าว มรกตนิยมเจียระไนเป็นรูปสี่เหลี่ยมตาม
รูปร่างผลึก เรียกว่า เหลี่ยมมรกต (Emerald cut) มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านล่างทำเป็นขั้น ๆ ลงไป ถ้าเป็นมรกตเนื้อ
ค่อนข้างขุ่นจะนิยมเจียระไนทรงหลังเบี้ยถ้าเป็นมรกตทราปิชชื่ (Trapiche) คือมรกตที่มีแฉกหกแฉก สีเทาเข้มถึงสีดำ แฉกทั้งหกนี้เกิดจากมลทินแร่ชนิดอื่นที่แทรกตามแกนโครงสร้าง มรกตทราปิชซี่ จัดเป็นมรกตคุณภาพต่ำ แต่มีลักษณะแปลก มักเจียระไนเป็นรูปหลังเบี้ยเพื่อเพิ่มความเด่นของแฉก


ระดับความนิยมในโลกอัญมณี
มรกตเป็นอัญมณีที่มีมูลค่าสูงสุดในกลุ่มอัญมณีสีเขียว ราคาซื้อขายมรกตขึ้นกับขนาดกะรัต ความเข้มของสี และความสะอาดของเนื้อ มรกตคุณภาพดี
และมีขนาดใหญ่ มีมูลค่าต่อกะรัตใกล้เคียงกับเพซร คงเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำเอาชื่อมรกตไปใช้เรียกพลอยสีเขียวอื่น ๆ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น มรกตจันท์
ซึ่งเป็นพลอยเขียวส่องจากจังหวัดจันทบุรี มรกตอินเดีย ซึ่งเป็นแร่ควอตซ์ย้อมสีเขียว หรือ มรกตแอฟริกา ซึ่งเป็นแฟลออไรต์สีเขียวจากประเทศนามิเบีย
ที่เป็นพลอยเนื้ออ่อนมาก


ความเชื่อ
มรกตเป็นพลอยประจำเดือนพฤษภาคม ช่วยสร้างเสริมความมั่นใจในตัวเองให้แก่ผู้สวมใส่ เป็นตัวแทนของความรักความซื่อสัตย์ และยังเชื่อว่าช่วยถนอมสายตาด้วย


การดูแลรักษา
หลีกเลี่ยงการถูกกระแทก อย่าให้ตกกระทบพื้น เพราะมรกตมีรอยร้าวมากจึงเปราะบาง หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทำความสะอาดไม่ควรให้ถูกความร้อน และห้ามใช้กับเครื่องอัลตราโซนิค


การปรับปรุงคุณภาพ
เนื่องจากมรกตมีรอยร้าวมาก จึงนิยมนำมรกตมาอุดรอยร้าวด้วยน้ำมัน หรือสารเคมีที่ใสไม่มีสี และมีค่าดัชนีหักเหแสงใกล้เคียงกับค่าดัชนีหักเหแสงของมรกต ทำให้มองไม่เห็นรอยร้าว แต่เมื่อเวลาผ่านไป สารที่อุดจะเสื่อมคุณภาพ ออกเป็นสีเหลืองต้องล้างและอุดใหม่อีก ซึ่งเสี่ยงต่อการแตกร้าวมาก ดังนั้นการเลือก
ซื้อมรกต ควรทราบว่ามรกตนั้นผ่านการอุดมามากน้อยเพียงใด สังเกตด้วยการนำไปดูภายใต้แสงเหนือม่วง เพราะว่าสารอุดส่วนใหญ่จะเรืองแสงสีเหลือง
จาง ๆ ภายใต้แสงเหนือม่วง มรกตที่มีสารอุดอยู่มาก อาจจะเยิ้มออกมาตามรอยแตกถ้าอยู่ภายใต้แสงไฟที่ร้อนเป็นเวลานาน


การสังเคราะห์
การสังเคราะห์มรกตมีมานานแล้ว ด้วยจุดประสงค์เพื่อทดแทนมรกตธรรมชาติที่หายาก มีราคาแพง และเพื่อนำไปใช้ทำแสงเลเซอร์กระบวนการสังเคราะห์มรกตค่อนข้างชับซ้อนและใช้ต้นทุนสูง ดังนั้นมรกตสังเคราะห์จึงมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพลอยสังเคราะห์ชนิดอื่น ๆ มรกตสังเคราะห์คุณภาพสูงนั้นอาจมีความใสสะอาดถึงขั้นมองไม่เห็นตำหนิใด ๆ ได้ด้วยตาเปล่า หรือแม้แต่ภายใต้เลนส์ขยาย 10 เท่า ความสะอาดของเนื้อพลอยระดับนี้ เรียกว่า "eye clean"
การสังเคราะห์มรกต มี 3 กรรมวิธี ได้แก่ 1) การปลูกผลึกจากฟลักซ์

                  

                                                                  ผลึกมรกตสังเคราห์

บริษัทที่สังเคราะห์มรกตโดยวิธีนี้ ได้แก่ ชาทัม(Chatham) กิลสัน(Gilson) อินาโมริ(Inamori)และ เซอร์ฟาส(Zerfass) 2) การปลูกผลึกจากสารละลายร้อนบริษัทที่สังเคราะห์มรกตโดยวิธีนี้ได้แก่ ลินเด(Linde) ปัจจุบัน โอนกิจการเป็นของรีเจนซี่และไบรอน (Regency and Biron) และ 3) การปลูกผลึกบนผลึกแร่เบอริลธรรมชาติ บริษัทที่สังเคราะห์ด้วยวิธีนี้คือ เลคไลท์เนอร์ (Lechleitner) ผลึกแร่เบอริลที่ใช้เป็นผลึกล่อนี้ ตกแต่งเจียระไนตามรูปแบบที่ต้องการ แล้วแช่ในสารละลาย มรกตจะตกผลึกพอกเป็นชั้นบาง ๆ บนหน้าเจียระไนของผลึกล่อ ส่วนใหญ่มรกตสังเคราะห์เลคไลท์เนอร์จะไม่นำไปเจียระไนอีก เพราะหน้าผลึกค่อนข้างเรียบอยู่แล้ว และถ้าเจียระไนอีกอาจสูญเสียเนื้อมรกตที่เกิดพอกผิวไป มรกตสังเคราะห์
ที่มีขนาดใหญ่ และคุณภาพสูง สามารถซื้อขาย มีมูลค่ากะรัตเป็นเรือนหลายหมื่นแต่ยังไม่เท่ากับมูลค่าของมรกตธรรมชาติ ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเดียวกัน

                                                   

                                           มลทินในมรกตสังเคราะห์โดยกรรมวิธีการปลูกผลึกจากฟลักซ์


อัญมณีเทียบเคียง
พลอยสีเขียวที่คล้ายมรกตมีหลายชนิด เช่น ซาโวไรต์ (โsavorite) เป็นการ์เนตสีเขียวเข้ม ซัฟไฟร์เขียว หรือเขียวส่อง (Green sapphire) ซีแซด
สีเขียว เพอริโดต์ ม้กระทั่งแก้วสีเขียว วิธีแยกมรกตทั้งธรรมชาติและสังเคราะห์ออกจากมราตเทียมที่ง่ายที่สุด คือ ใช้เลนส์ขยาย 10 เท่า ส่องดูในเนื้อพลอยถ้ามีฟองอากาศแสดงว่าเป็นแก้ว หรือใช้แผ่นกรองแสงเชลซี (Chelsea filter) เป็นแผ่นกรองแสงสีเขียว เมื่อมองมรกตผ่านแผ่นกรองแสงเชลซี จะเห็นมรกตเป็นสีแดงหรือสีชมพู เพราะแผ่นกรองแสงเชลซีมีคุณสมบัติดูดกลึนแสงสีเขียวที่เกิดจากธาตุโครเมียม ที่เป็นธาตุให้สีเขียวในมรกต ส่วนพลอยสีเขียวชนิดอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จะเห็นเป็นสีเขียวตามสีของแผ่นกรองแสงเชลซี (Chelsea filter)


การตรวจสอบ
            การจำเนกระหว่างมรกตธรรมชาติและมรกตสังเคราะห์ค่อนข้างชับซ้อน ผู้ตรวจสอบควรมีประสบการณ์ โดยทั่วไปมรกตธรรมชาติและมรกตสังเคราะห์ โดยเฉพาะมรกตที่สังเคราะห์จากฟลักซ์มีความคล้ายคลึงกันมาก ส่วนใหญ่สังเกตจากลักษณะมลทินหรือตำหนิในเนื้อมรกตถ้ามลทินเป็นเศษโลหะ มลทินสองสถานะ ตำหนิรอยแตกระแหงเล็ก ๆป่ายขนานกัน แสดงว่าเป็นมรกตสังเคราะห์สำหรับมรกตเลคไลท์เนอร์แทบไม่มีมลทิน หรือตำหนิที่ชัดเจน แต่อาจสังเกตจากร่องรอยการเติบโตของผลึกบนหน้าพลอย เพราะมรกตสังเคราะห์เลคไลท์เนอร์มักไม่ผ่านการเจียระไน แต่ถ้าต่อไปเลคไลท์เนอร์สามารถปลูกชั้นมรกตได้หนาขึ้น อาจมีการเจียระไนได้

            การแยกมรกตสังเคราะห์ออกจากมรกตธรรมชาติอีกวิธีคือ การใช้คลื่นแสงรังสีเหนือม่วงชนิดช่วงคลื่นยาว (366 นาโนเมตร) และสังเกตการ
เรื่องแสง มรกตสังเคราะห์จะเรืองแสงสีแดงทึบ ๆอย่างชัดเจนถึงอย่างอ่อน ๆ ดังนั้นควรตรวจสอบในห้องมืดและวางมรกตบนพื้นสีดำ แต่มรกตที่สังเคราะห์โดย บริษัทไบรอนไม่แสดงการเรืองแสง

                                              
                                                             ผลึกมรกตธรรมชาติ


บางครั้งมรกตธรรมชาติที่มีสีเขียวเข้มมากจะเรืองแสงออกสีชมพูอมม่วงทึบ ๆอีกวิธีหนึ่งใช้กับมรกตที่ยังไม่ได้เข้าตัวเรือนเท่านั้น คือการวัดค่าความถ่วงจำเพาะ มรกตสังเคราะห์จะเบากว่ามรกตธรรมชาติเล็กน้อย โดยที่มรกตสังเคราะห์มีค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ที่ 2.65-2.66 ส่วนมรกตธรรมชาติมีค่าความถ่วงจำเพาะ
อยู่ที่ 2.71 ดังนั้นใช้ชุดน้ำยาวัดค่าความถ่วงจำเพาะ ที่มีค่าอยู่ที่ 2.67 มาวัด โดยจุ่มมรกตลงไป ถ้าเป็นมรกตสังเคราะห์จะลอย ส่วนมรกตธรรมชาติจะจม
ลงอย่างช้า ๆ อย่างไรก็ตาม ถ้ามรกตธรรมชาติมีรอยร้าวอยู่มาก อาจลอยอยู่กับมรกตสังเคราะห์ หรือถ้ามรกตสังเคราะห์มีมลหินอยู่มาก ก็จะค่อย ๆ จม 
เช่นเดียวกับมรกตธรรมชาติสำหรับการแยกมรกตออกจากมรกตเทียมอื่น ๆ มีวิธีที่ตรวจสอบง่ายและรวดเร็ว คือ การใช้แผ่นฟิล์ม กรองแสงเชลซี (Chelsea filter) เมื่อมองผ่านแผ่นฟิล์มจะเห็นมรกตออกสีชมพูถึงสีแดง

                                 


พลอยตระกูลเบอริลอื่น ๆ
พลอยตระกูลเบอริลมีหลากหลายสี มีชื่อเรียกต่างกันไปตามเฉดสีที่พบกันมากในตลาดพลอยได้แก่


                     อะความารีน (Aquamarine)                                                สีน้ำทะเล
                                                                                                         สีฟ้าอ่อน
                     มอร์แกนไนต์ (Morganite)                                                  สีชมพู
                                                                                                         สีชมพูอมม่วง
                     บิกซ์ไบต์ (Bixbite)                                                            สีแดงเข้ม
                     เฮลลิโอดอร์ (Heliodore)                                                    สีเหลืองทองถึง
                                                                                                         สีเขียวทอง
                     เบอริลแดง (Red beryl)                                                     สีแดงอมชมพูถึงสีแดงทับทิม
                     กอชเชนไนต์ (Goshenite)                                                   ไม่มีสี ถึงสีเหลืองหรือสีน้ำตาลจางๆ
                     แมกชิกซ์ (Maxixe)                                                            สีน้ำเงินเข้ม


พลอยเบอริลพบหลายแหล่งในโลก เช่น ประเทศโคล้มเบีย บราซิล รัสเซีย ศรีลังกา นามิเบีย อัฟกานิสถาน และปากีสถาน ถ้าเป็นอะความารีนที่มีคุณภาพดีที่สุดในปัจจุบันมาจากประเทศบราซิล พบเป็นผลึกขนาดใหญ่และใสสะอาด สีฟ้าของอะความารีนเนื่องจากธาตุเหล็กที่แทรกอยู่ในโครงสร้าง จึงมักนำมาเผา เพื่อเพิ่ม
ความเข้มของสี อะความารีนมีลักษณะคล้ายกับพลอยโทปาซสีฟ้า แต่อะความารีนมีราคาสูงกว่านอกนั้น พบแหล่งอะความารีนที่ประเทศอัฟกานิสถาน และสหรัฐอเมริกา พลอยเบอริลชนิดที่หายาก ได้แก่ เบอริล์สีแดงทับทิมพบที่รัฐยูทาห์

                                         

ประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว และเบอริลสีน้ำเงินเข้มพบที่ประเทศบราชิลแห่งเดียว พลอยเบอริลหายากทั้งสองชนิดนี้มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่หลังจากเจียระไนแล้วมีขนาดไม่เกิน 1 กะรัต แต่มีราคาสูงกว่าเบอริลสีอื่น ๆ พลอยเบอริลที่ราคาถูกที่สุด เป็นชนิดไม่มีสีหรือสีจาง ๆ ที่เรียกว่า กอชเชนไนต์ มีการนำกอชเชนไนต์ไปอาบรังสีให้กลายเป็นสีเหลืองเข้มขึ้น คล้ายสีเหลืองทองของชนิดเฮลลิโอดอร์ แต่มีเพียงกอชเชนไนต์บางแห่งเท่านั้นที่เปลี่ยนสีได้ ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีพลอยเบอริลสังเคราะห์ในตลาด อาจเนื่องจากยังมีราคาที่ไม่คุ้มค่า

                                 
                                          การเจียระไนแบบเหลี่ยมมรกต (Emerald cut)


บทความที่เกี่ยวข้อง
หยก (JADES)
ชาวจีนยึดถือหยกเป็นสมบัติประจำตระกูลหยกได้รับความนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องประดับและเครื่องรางของขลังเพราะมีสีเขียวที่เห็นแล้วรู้สึกเย็นตาเย็นใจ
พลอยสตาร์  STAR GAMSTONES
พลอยที่เชื่อว่าเป็นตัวแทนของดวงตาที่คอลระแวดระวังภัยอันตรายและขับไล่สิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าใกล้ผู้ครอบครอง
พลอยสตาร์  STAR GAMSTONES
พลอยสตาร์เป็นพลอยที่เทพเจ้าประทานให้กับมนุษย์เพื่อเป็นตัวแทนดวงดาวบนฟากฟ้า พลอยสตาร์จึงมีพลังของเทพเจ้า
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy