แชร์

พลอยสตาร์ STAR GAMSTONES

อัพเดทล่าสุด: 17 ก.ค. 2024
155 ผู้เข้าชม
พลอยสตาร์  STAR GAMSTONES

พลอยสตาร์ เป็นพลอยที่แสดงปรากฏการณ์การเล่นแสงเป็นแฉกคล้ายดอกจันหรือดวงดาว ปรากฏการณ์ทางแสงเช่นนี้ เรียกว่า แอสเทอริชื่ม
(Asterism) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า แอสเทอร์ (Aster) แปลว่า ดาวคนไทยเรียก "พลอยสาแหรก" ปัจจุบันนิยมเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า"พลอยสตาร์" ลักษณะสตาร์มีหลายแบบ เช่น สตาร์สี่แฉก สตาร์หกแฉก สตาร์แปดแฉก จนถึงสตาร์สิบสองแฉก จะเห็นว่า จำนวนแฉกของสตาร์จะเป็นเลขคู่เท่านั้น และโดยทั่วไปแล้ว แต่ละแฉกจะอยู่ห่างเท่า ๆ กัน พลอยสตาร์จัดเป็นพลอยที่หายาก มีพลอยเพียงไม่กี่ชนิด และจากเพียงไม่กี่แหล่งเท่านั้นที่มีสตาร์

                              

                                                   ทับทิมสตาร์


ตระกูลแร่
พลอยสตาร์ที่พบมากที่สุด คือ ดอรันดัมสตาร์ รองลงมาได้แก่ สตาร์แขกและ ควอตซ์สตาร์ ตามลำดับ
คอรันดัมสตาร์ เป็นพลอยตระกูลคอรันดัม จัดเป็นพลอยสตาร์เนื้อแข็งมีสูตรเคมีเป็น A,O โครงสร้างผลึกอยู่ในรบบฐานสามเหลี่ยม
สตาร์แขก เป็นพลอยตะกูลได้ออบไซด์ (Diopside) เป็นพลอยสตาร์เนื้ออ่อนที่สุด มีสูตรเคมีเป็น MgCasi20 โครงสร้างผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic)

ควอตซ์สตาร์ เป็นพลอยตระกูลควอตซ์ (Quartz)มีสูตรเคมีเป็น Si0 2 โครงสร้างผลึกอยู่ในระบบฐานสามเหลี่ยม (Trigonal system) เช่นเดียวกับโครงสร้างผลึกของคอรันดัมสตาร์


แหล่งที่พบ
แหล่งคอรันดัมสตาร์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ประเทศพม่า ศรีลังกา และไทย
คอรันดัมสตาร์จากประเทศพม่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นพลอยสตาร์สีม่วงอมน้ำเงิน มีขนาดใหญ่ถึง 330 กะรัต หลังจากเจียระไนแบบหลังเบี้ยแล้วแสดงสตาร์ที่คมชัดสวยงาม จนได้ชื่อว่า พลอยสตาร์แห่งเอเชีย (The star of Asia)ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สมิธโชเนียน ประเทศสหรัฐอเมริกาคอวันดัมสตาร์จากประเทศศรีลังกา มักมีขนาดใหญ่และมีสีเข้มกว่าแหล่งอื่น ๆ พลอยสตาร์จากประเทศศรีลังกาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พลอยไพลินสตาร์แห่งอินเดีย (Indian star sapphire หรือ Star of India) เป็นพลอยสตาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักก่อนเจียระไนถึง 563 กะรัต และทับทิมสตาร์ที่มีชื่อว่า Rosser Reeves จัดเป็นทับทิมสตาร์ที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลกปัจจุบันพลอยสตาร์ทั้งสองอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งอเมริกาในมหานครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาสตาร์แขกพบในหลายแหล่ง แหล่งที่มีชื่อเสียงได้แก่ ประเทศอินเดีย นอกนั้นมาจากประเทศพม่า ศรีลังกา ออสเตรเลีย รัสเชีย ปากีสถาน แอฟริกาใต้ ออสเตรีย บราซิล อิตาลี อเมริกา และฟินแลนด์ควอตซ์สตาร์ที่พบส่วนใหญ่เป็นควอตซ์สตาร์สีชมพู (Star rose quartz)พบทั่วไปในหลายเหล่ง แต่เหล่งที่มีชื่อเสียงได้แก่ ประเทศบราซิล มาดากัสการ์และสหรัฐอเมริกา
พลอยสตาร์จัดเป็นพลอยหายาก ว่ากันว่าในจำนวนพลอย 100 เม็ดที่นำมาจากแหล่งเดียวกัน จะมีพลอยที่มีสตาร์ไม่เกิน 3 เม็ด และภายใน 3 เม็ดนี้มีพลอยสตาร์ชั้นยอดไม่เกินหนึ่งเม็ด หรืออาจจะไม่มีเลย ส่วนใหญ่มักมีตำหนิเช่น ถ้ามีสีสวยก็แสดงสตาร์ไม่ชัดเจน ถ้ามีสตาร์สวยชัดเจนก็มักมีสีขุ่นมากจนทึบจะเห็นว่าพลอยสตาร์คุณภาพดี มีไม่เกินร้อยละหนึ่งเท่านั้น

คุณสมบัติทั่วไป
คอรันดัมสตาร์
อันดับความแข็ง , ค่าดัชนีหักเห 1.76-1.77 ความถ่วงจำเพาะ 4.0
สตาร์แขก
อันดับความแข็ง 5.5 ค่าดัชนีหักเห 1.69-1.72 ความถ่วงจำเพาะ 3.3
ควอตซ์สตาร์
อันดับความแข็ง 7 ค่าดัชนีหักเห 1.53-1.54 ความถ่วงจำเพาะ 3.3


คุณสมบัติเฉพาะตัว
ก่อนอื่นควรเข้าใจว่า สตาร์เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมพลอยชนิดเดียวกัน จากแหล่งเดียวกันจึงไม่มีสตาร์เหมือนกันหมด ทำไมต้องเกิดขึ้นเฉพาะบางเม็ดเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้ว พลอยสตาร์มีเนื้อกึ่งโปร่งแสงจนถึงเกือบทึบแสงและมีมลทินรูปเข็มขนาดเล็กมากของผลึกแร่รู้ไทล์ (TiO 2) เรียงตัวอย่างเป็นระเบียบตามแนวแกนผลึก ถ้าเป็นผลึกระบบฐานสามเหลี่ยม (Trigonal system) เช่น พลอยตระกูลคอรันดัม และพลอยตระกูลควอตซ์ มลทินรูปเข็มจะเรียงตัวตามแนวแกน
ผลึกสามแกนที่อยู่บนระนาบเดียวกัน เมื่อสามแนวตัดกันจะให้สตาร์หกแฉกถ้าเป็นระบบผลึกหนึ่งแกนเอียง เช่น ไดออนไซด์สตาร์หรือสตาร์แขก ส่วนใหญ่ให้
สตาร์สี่แฉก มีบ้างที่ให้สตาร์หกแฉก แต่ละแฉกมักไม่เท่ากันเนื่องจากแกนผลึกของระบบผลึกหนึ่งแกนเอียงมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน ต่างแกนต่างก็มีลักษณะ
เฉพาะตัว
          ปรากฏการณ์สตาร์ในพลอยจะเกิดขึ้นเมื่อมีแสงกระทบเท่านั้น แสงเข้าไป
กระทบกับมลทินรูปเข็มแล้วสะท้อนออกมาเป็นแนวตามทิศทางการเรียงตัว เพื่อเพิ่มความชัดเจนของปรากฏการณ์สตาร์จึงต้องเจียระไนพลอยเป็นแบบหลังเบี้ย
(Cabochon cut) พลอยสตาร์ที่มีคุณภาพดีควรแสดงสตาร์ชัดเจน และได้สมมาตร อจุดศูนย์กลางสตาร์อยู่ตรงกลางหน้าพลอย เมื่อหมุนพลอยเอียงไปมาจะเห็นสตาร์เคลื่อนที่ตามทิศทางที่หมุน แสดงว่าเป็นพลอยที่ได้รับการเจียระไนอย่างถูกต้อง เพราะการเจียระไนพลอยสตาร์ต้องตั้งหน้าพลอยให้ตั้งฉากกับแกนยาวผลึกพอดี

คอรันดัมสตาร์
ลักษณะสตาร์ในพลอยตระกูลคอรันดัมเป็นสตาร์หกแฉก คอรันดัมสตาร์มีหลายชนิด ตามเฉดสีของพลอยเช่น สีแดง เรียกว่า ทับทิมสตาร์ สีน้ำเงินเรียกว่า ไพลินสตาร์ สีดำเรียกว่า สตาร์ดำ และสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เรียกว่าสตาร์ทอง เมื่อเวลากระทบกับแสงให้สตาร์สีน้ำตาลทอง บางครั้งพบสตาร์หกแฉกสองชุด อยู่เหลื่อมกัน ทำให้เห็นเป็นสตาร์สิบสองแฉก แต่ความชัดเจนของสตาร์สองชุดมักไม่เท่ากัน ลักษณะนี้เนื่องจากโครงสร้างผลึกแฝด(Twin) ตามธรรมชาติขอพลอย

                                

                                                         สตาร์ดำ

สตาร์แขก
สตาร์แขกเป็นพลอยสตาร์เนื้ออ่อนส่วนใหญ่เป็นสตาร์สี่แฉก แต่สตาร์หกแฉกก็พบบ้าง ขนาดของแต่ละแฉกมักไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่สตาร์แขกมีสีเขียว
เข้มเกือบดำถึงสีดำและเนื้อทึบแสงคล้ายกับสตาร์ดำของไทย ต่างกันที่จำนวนแฉกและความแข็ง


ควอตซ์สตาร์
ส่วนใหญ่เป็นควอตซ์ชนิดสีชมพูและสีขาวขุ่นแบบหมอก เนื้อพลอยกึ่งโปร่งแสงแต่ไม่ทึบ สตาร์ในควอตซ์ไม่ค่อยชัดเจนเหมือนกับสตาร์ในพลอยอื่น ๆ
ผู้เขียนเคยเห็นควอตซ์สตาร์ที่มีสตาร์หลายสตาร์รอบตัวพลอยที่เจียระไนแบบหลังเบี้ย เจ้าของพลอยบอกว่าได้มาจากประเทศอินเดีย คาดว่าลักษณะนี้มาจากผลึกแฝดคู่หลายคู่มาอยู่รวมกันโดยแต่ละผลึกเติบโตในทิศทางที่แตกต่างกัน

                               

                                                      สตาร์ทอง

รูปทรงนิยมในการเจียระใน
แบบหลังเบี้ย (Cabochon cut) เพื่อเพิ่มความชัดเจนของสตาร์


ระดับความนิยมในโลกอัญมณี
พลอยสตาร์ตระกูลคอรันดัม นับว่ามีมูลค่าสูงสุด โดยเฉพาะทับทิมสตาร์และไพลินสตาร์มีราคาแพงมาก ปัจจุบันสตาร์ทอง (Gold star) กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ส่วนสตาร์ดำมีราคาที่ไม่สูงนักเพราะมีจำนวนมากควอตร์สตาร์ค่อนข้างหายาก โดยเฉพาะชนิดเนื้อค่อนข้างโปร่งและมีสีชมพูสด ถ้ามีขนาดใหญ่ตั้งแต่ ร กะรัตขึ้นไปจะได้ราคาสูงมากสตาร์แขกได้รับความนิยมรองลงมาอีกระดับ เพราะเป็นพลอยเนื้ออ่อนเป็นรอยขีดข่วนง่าย ความสวยงามและความเด่นชัดของสตาร์ไม่เท่าเทียมสตาร์ดำหรือสตาร์ทองของไทย ถ้าเป็นเม็ดขนาดใหญ่ตั้งแต่สิบกะรัตขึ้นไป ก็มีราคาขึ้นมาบ้างความเชื่อเชื่อกันว่า พลอยสตาร์เป็นพลอยที่เทพเจ้าประทานให้กับมนุษย์ เมื่อมนุษย์อยากได้ดวงดาวบนฟากฟ้าไว้ครอบครอง พลอยสตาร์จึงมีพลังของเทพเจ้า ช่วยเสริมอำนาจให้กับผู้สวมใส่ พลอยสตาร์ที่มีสีดำ เช่น สตาร์แขก ช่วยให้จิตใจสงบนิ่ง เข้าถึงสมาธิได้ดี

                                

                                                  สตาร์แขก


การดูแลรักษา

หลีกเลี้ยงการใช้อัลตราโชนิคและน้ำร้อน เพราะอาจทำพลอยแตกร้าวได้ควรใช้ผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับ
น้ำหอมและสารเคมีสำหรับสตาร์แขกต้องระมัดระวังในการไปกระทบกับของแข็ง เพราะเป็นพลอยเนื้ออ่อน ทำให้เป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย

การปรับปรุงคุณภาพ
พบเฉพาะควอตซ์สตาร์สีชมพู ที่มีการเอากระดาษสีเงินปะที่ส่วนล่าง เพื่อเพิ่มความชัดของสตาร์
การสังเคราะห์
เนื่องจากความต้องการพลอยสตาร์มีมากกว่าปริมาณที่พบในธรรมชาติ จึงได้มีการสังเคราะห์พลอยสตาร์ขึ้นมา พลอยสตาร์สังเคราะห์มีคุณสมบัติ เช่นเดียวกับพลอยสตาร์ธรรมชาติทุกประการ และมีความสวยงามของสตาร์ไม่แพ้ หรือสวยกว่าสตาร์ธรรมชาติ ที่สำคัญคือมีรคาถูกกว่าพลอยสตาร์ธรรมชาติเกือบเท่าตัวพลอยสตาร์สังเคราะห์มีหลากหลายชนิดและพบทั่วไปในตลาดอัญมณีบริษัทที่สังเคราะห์พลอยสตาร์มาหลายสิบปีจนมีชื่อเสียง คือ บริษัทยูเนี่ยน คาร์ไบด์ทำการสังเคราะห์ทับทิมสตาร์และไพลินสตาร์ เพื่อสนองความต้องการของตลาดโดยเฉพาะในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีความต้องการพลอยสตาร์กันมาก พลอยสตาร์จึงมีราคาสูงกว่าพลอยที่ไม่มีสตาร์เกือบเท่าตัว พลอยสตาร์ที่ผลิตโดยบริษัทนี้จะถูกสลักอักษร " L" ไว้ที่ด้านล่าง อักษร " L" มาจากคำว่า Linde เป็นหน่วยงานในบริษัทที่รับผิดชอบในการสังเคราะห์พลอยสตาร์นอกเหนือจากการสังเคราะห์พลอยสตาร์ คือ ยังมีวิธีการทำสตาร์ที่ผิวพลอยที่ไม่มีสตาร์ พลอยสตาร์แบบนี้เป็นพลอยสตาร์ปลอม เพราะสตาร์ไม่ได้เกิดในเนื้อพลอย วิธีการทำสตาร์บนผิวพลอย มีหลายวิธี เช่น
  1. การขุดที่กันพลอยให้เป็นร่องขนานถี่ ๆ 2 แนว หรือ 3 แนวตัดกันจากนั้นเอาแผ่นฟิล์มบางที่สะท้อนแสงได้ดีมาปะปิดที่กันพลอย เมื่อดูจากด้านบนที่โด้งนูน จะให้ลักษณะคล้ายสตาร์ ใช้กับพลอยเนื้อไม่ขุ่นมาก
  2. การใช้แผ่นโลหะบาง ๆ ที่ขูดเป็นร่องขนานถี่ ๆ 2 แนว หรือ 3 แนวตัดกัน ปะติดที่กันพลอย ใช้กับพลอยเนื้อไม่ขุ่นมาก
  3. การขูดที่ผิวหน้าพลอยที่เป็นหลังเบี้ย โดยขูดเป็นร่องขนานถี่ ๆ เป็นแนวรอบหน้าพลอย แต่ละแนวจะให้เป็นแต่ละแฉกของสตาร์ พลอยสตาร์แบบนี้มีผิวค่อนข้างหยาบ ดูเหมือนกับว่าคนเจียระไนลืมขัดมันที่ผิว ลักษณะสตาร์แบบนี้แตกต่างจากสตาร์ธรรมชาติเห็นได้ชัด ส่วนใหญ่ใช้กับพลอยเนื้อทึบ                        
4. การซ่านผิว เป็นวิธีการทำสตาร์ที่พบล่าสุดและทำได้แนบเนียนกว่าแบบการขูด วิธีนี้ทำโดยนำเอาพลอยที่ไม่มีสตาร์ที่เจียระไนเป็นรูปหลังเบี้ยแล้วไปคลุก
กับสารไททาเนีย (ไททาเนียม ไดออกไซด์-TIO ,) แล้วเผาที่อุณหภูมิสูงจนสารไททาเนียหลอมและซ่านเช้าในเนื้อพลอยเป็นชั้นบาง ๆ แล้วปล่อยให้เย็นตัวลง
อย่างช้า ๆ เพื่อให้สารไททาเนียที่ซ่นเข้าไปตกผลึกเป็นรูปเข็มเล็ก ๆ เรียงตัวกันให้ลักษณะสตาร์เช่นเดียวกับการเกิดสตาร์ธรรมชาติ แต่ชั้นที่มีสตาร์นั้นเกิดเฉพาะที่ผิวพลอยซึ่งหนาเพียงไม่กี่มิลลิเมตรเท่านั้น ถ้าเอาพลอยสตาร์ที่ได้จากการซ่านไปเจียระไนหรือขัดผิวอีกครั้ง สตาร์อาจหายไป ข้อสังเกต
อีกประการคือ พลอยสตาร์โดยวิธีซ่านผิวมักมีสีค่อนข้างมัว ไม่เป็นประกาย พลอยสตาร์ชนิดนี้เรียกกันว่า พลอยดิฟิวซ์ (Diffuse) ปัจจุบันพบมากในตลาดพลอยจันทบุรี โดยเอาพลอยเขียวส่องเนื้อทึบมาทำให้เป็นไพลินสตาร์ ราคาในท้องตลาดประมาณ400-800 บาทต่อกะรัต ขึ้นอยู่กับน้ำหนักและคุณภาพสตาร์


                     

                                    ด้านหน้าของพลอยสตาร์ปลอม


การตรวจสอบ
สำหรับการสังเกตความแตกต่างระหว่างสตาร์ธรรมชาติ, สตาร์สังเคราะห์ และสตาร์ปลอม มีข้อสังเกต 7 ประการ ได้แก่
ประการแรก พลิกพลอยดูที่ด้านล่างว่ามีอักษร "L" หรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าเป็นพลอยสตาร์สังเคราะห์ โดยหน่วยงาน Linde ของบริษัทยูเนี่ยน คาร์ไบด์
ประการที่สอง พลิกพลอยไปมาสังเกตความไม่สม่ำเสมอของสี แถบสี หรือริ้วสี อันเป็นลักษณะของพลอยธรรมชาติ
ประการที่สาม ดูที่ด้านล่างหรือกันพลอยส่วนใหญ่แล้วพลอยธรรมชาติมักขรุขระ บางครั้ง

                           

                             ด้านล่างเป็นผิวเรียบของพลอยสตาร์ปลอม

มองเห็นคล้ายเป็นชั้นแผ่นบาง ๆ ป่ายกันเป็นรูปหกเหลี่ยมอันเป็นลักษณะของพลอยธรรมชาติ ถ้าเป็นพลอยสังเคราะห์ โดยเฉพาะสตาร์ปลอมส่วนล่างมักเป็นหน้าเรียบดังนั้นพลอยสตาร์ที่อยู่ในตัวเรือนเครื่องประดับที่ปีดด้านล่างไว้ จะยากต่อการสังเกตมาก ทางที่ดีควรซื้อพลอยร่วง หรือพลอยที่ยังไม่ได้นำเข้าตัวเรือน เพราะสามารถตรวจดูได้ทุกมุม
     ประการที่สี่ สังเกตลักษณะของสตาร์โดยใช้แสงส่องลงไปที่พลอย สตาร์ธรรมชาติมักมีรูปร่างไม่สมบูรณ์เท่ากับสตาร์สังเคราะห์ สตาร์ธรรมชาติมักมีความยาวของแฉกไม่ค่อยเท่ากัน แขนค่อนข้างขรุขระหรือขาดเป็นช่วง ๆ ในขณะที่สตาร์สังเคราะห์มีแฉกยาวเรียบและชัดเจน
     ประการที่ห้า สังเกตจากจำนวนแฉกของสตาร์ ถ้าจำนวนแฉกเป็นเลขคี่หรือมีมากกว่าหกแฉก เช่น แปดแฉก สิบห้าแฉก สิบหกแฉกหรือมากกว่า มักเป็นสตาร์ที่ทำเลียนแบบขึ้น เพราะแฉกของสตาร์ธรรมชาติมีจำนวนเท่าตัวกับแนวการเรียงตัวของมลทินรูปเข็ม ดังนั้นจำนวนแฉกจึงเป็นเลขคู่เสมอ เช่น สี่แฉกหรือหกแฉก ถ้ามีแฉกมากขึ้นก็ควรเป็นเท่าตัว เช่น สตาร์สิบสองแฉก หรือสตาร์แปดแฉก
     ประการที่หก ตรวจดูการขัดมันที่ผิวหน้าพลอย สตาร์ธรรมชาติจะมีผิวของการขัดมันที่ดี และเรียบกว่าสตาร์ปลอมที่ทำสตาร์ขึ้นโดยการขูดเป็นแนวที่หน้าพลอย
     ประการที่เจ็ด สังเกตว่าสตร์ต้องเหมือนฝังในเนื้อพลอย และที่สำคัญสตาร์ต้องเคลื่อนตามตำแหน่งของแสงไฟ ที่เรียกกันว่า "สตาร์มีชีวิต"สำหรับการเลือกพลอยสตาร์ธรรมชาติที่มีคุณภาพดี เริ่มจากเลือกสีของเนื้อพลอยก่อนว่ามีสีสดสวยงามตามที่ต้องการหรือไม่ ดูความสะอาดและความใสของเนื้อพลอย พลอยต้องไม่มีรอยแตกหรือรอยร้าว ต่อจากนั้นสังเกตลักษณะของสตาร์ ลักษณะสตาร์ที่ดีต้องเห็นได้ชัด มีครบหกแฉก แต่ละแฉกมีความยาวต่อเนื่องไม่ขาดหายเป็นท่อน ๆ และควรยาวไปจนถึงขอบเม็ดพลอย

บทความที่เกี่ยวข้อง
หยก (JADES)
ชาวจีนยึดถือหยกเป็นสมบัติประจำตระกูลหยกได้รับความนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องประดับและเครื่องรางของขลังเพราะมีสีเขียวที่เห็นแล้วรู้สึกเย็นตาเย็นใจ
พลอยสตาร์  STAR GAMSTONES
พลอยที่เชื่อว่าเป็นตัวแทนของดวงตาที่คอลระแวดระวังภัยอันตรายและขับไล่สิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าใกล้ผู้ครอบครอง
มรกต-เบอริล
มรกตเป็นอัญมณีราคาแพงที่สุดในบรรดาอัญมณีสีเขียว เชื่อว่าเป็นตัวแทนของความรักและความซื่อสัตย์ และยังเชื่อว่าช่วยถนอมสายตาด้วย
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy