ซัฟไฟร์ หมายถึง ไพลิน เป็นพลอยตระกูลคอรันดัมที่มีเฉดสีน้ำเงินไม่ว่าจะเป็นน้ำเงินเข้ม น้ำเงินอมม่วง หรือน้ำเงินอมฟ้าถ้าเป็นพลอยตระกูลคอวันดัมที่มีเฉดสีอื่นจะเรียกว่า ซัฟไฟร์แฟนซี (Fancy sapphire) และเรียกชื่อตามสีพลอย เช่น ซัฟไฟร์เหลือง (Yellow sapphire) ชัฟไฟร์ชมพู (Pink sapphire) ซัฟไฟร์เขียว (Green sapphire) เป็นต้น ทั้งนี้ยกเว้นสีแดง เพราะสีแดงมีชื่อเฉพาะคือ ทับทิม
ตระกูลแร่
ชัฟไฟร์ หรือไพลิน เป็นพลอยในตระกูลเดียวกันกับทับทิม คือ ตระกูลแร่คอวันดัม (Corundum) มีสูตรเคมีเป็น A,0: โครงสร้างผลึกอยู่ในระบบฐานสามเหลี่ยม (Trigonal system) ดังนั้นไพลินและทับทิมจึงมีคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางแสงเหมือนกัน
แหล่งที่พบ
แหล่งไพลินในเอเชีย ได้แก่ ศรีลังกา ไทย พม่า จีน เวียดนาม และกัมพูชานอกนั้นมีทางแอฟริกา เช่น ไนจีเรีย เคนย่า แทนซาเนีย และมาดากัสการ์ ที่กำลังกลายเป็นแหล่งสำคัญในปัจจุบันในสหรัฐอมริกาแหล่งไพลินที่มีชื่อที่สุด ได้แก่ แหล่งโยโกกัลซ์ (Yogo Gulch) เป็นไพลินสีสวย แต่มีขนาดเล็กและฝังอยู่ในหินแข็งยากต่อการสกัดออกมาไพลินจากออสเตรเลีย ส่วนใหญ่มีสีเข้มมาก เมื่อหมุนดูพลอยโดยรอบจะเนสีน้ำเงินอมเขียวค่อนข้างชัดเจน ไพลินที่สวยงามและมีชื่อมากที่สุด ได้แก่ ไพลินจากแคชเมียร์ (Kash-mir sapphire) และไพลินจากพม่า (Burmese sapphire) เป็นไพลินที่มีสีน้ำเงินกำมะหยี่และเนื้อใส แต่ปัจจุบันนี้ไพลินจากสองแหล่งนี้ยังหายากกว่าทับทิมพม่า ส่วนไพลินจากประเทศไทย และจากกัมพูชามีลักษณะคล้ายกัน ส่วนใหญ่มีสีน้ำเงินเข้มและสีค่อนข้างสม่ำเสมอส่วนไพลินจากศรีลังกามีสีจางกว่าและเนื้อใสกว่า มีมลทินเป็นรูปเข็ม(Needle-like inclusions) และตำหนิรูปผ้าพลิ้ว (Veil-like inclusions)
คุณสมบัติทั่วไป
อันดับความแข็ง ค่าดัชนีหักเห 1.77 ความถ่วงจำเพาะ 4.0
คุณสมบัติเฉพาะตัว
สีน้ำเงินของไพลิน มาจากธาตุเหล็ก (Fe+2) และธาตุไททาเนียม (Ti+4) ที่เข้ามาแทนที่ธาตุอะลูมิเนียม (A/+3) ในโครงสร้าง การถ่ายเทประจุระหว่าง
ธาตุเหล็ก(Fe *2) และธาตุไททาเนี่ยม (โi+ #) เพื่อรักษาความสมดุลของประจุให้เป็นเช่นเดียวกับประจุของธาตุอะลูมิเนียม (A/+3) ทำให้โครงสร้างสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกมา ดังนั้น ถ้าเปลี่ยนประจุของธาตุเหล็กบางส่วนจาก Fet2 เป็น Fet3 จะทำให้ความมืดของสีน้ำเงินสว่างขึ้น การเปลี่ยนประจุทำได้โดยการ "เผา" พลอยในสภาวะที่ให้อากาศหรือมีก๊าชออกซิเจนเข้าไป
รูปทรงนิยมในการเจียระไน
ไพลินชนิดที่ใส เนื้อดี จะนิยมเจียระไนหน้าเหลี่ยมเกสรรูปต่าง ๆ เช่นรูปกลม รูปรี รูปไข่ รูปหัวใจ ถ้าเป็นชนิดเนื้อขุ่น เช่น ชนิด กินบ่เซี้ยง' หรือสตาร์
เจียระไนเป็นรูปหลังเบี้ย (Cabochon) ถ้าเนื้อขุ่นจนทึบ จะนำไปแกะสลัก
ระดับความนิยมในโลกอัญมณี
ไพลิน เป็นพลอยที่แพร่หลาย และได้รับความนิยมเป็นเวลานานทั้งในยุโรปและเอเซีย เป็นพลอยที่มีมูลค่าสูงสุดในกลุ่มพลอยสีน้ำเงิน
ความเชื่อ
เชื่อกันว่าไพลินคือ สัญญลักษณ์ของความจริง ความซื่อสัตย์ และความจริงใจ เป็นอัญมณีแห่งสวรรค์ เป็นอัญมณีสำหรับกษัตริย์ และพระชั้นสูง
ชาวยุโรปสมัยก่อนเชื่อว่า โลกวางอยู่บนซัฟไฟร์ขนาดมหึมาที่สะท้อนแสง ให้สีน้ำเงินของท้องฟ้า พลอยสีน้ำเงินขนาดใหญ่ที่
ประดับบนมงกุฎของราชวงศ์อังกฤษก็คือ ไพลิน ซึ่งเปรียบถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ผู้ครองเมืองไพลินเป็นอัญมณีประจำเดือนกันยายน และเป็นอัญมณีของดาวเสาร์
องค์พระแกะสลักจากไพลินเนื้อทึบ
การดูแลรักษา
ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ ยกเว้นซัฟไฟร์ซึ่งผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ที่ต้องหลีกเลี้ยงการใช้สารเคมีในการทำความสะอาด
การปรับปรุงคุณภาพ
การซ่านสี (Diffusion) เพื่อให้ได้สีสวยขึ้น หรือการซ่านเพื่อให้ได้สตาร์การเผาเพื่อปรับเปลี่ยนสี การอุดด้วยแก้ว พลาสติก เรซิน หรือวัสดุอื่น ๆ
เพื่อให้เนื้อโปร่งใสขึ้น เพิ่มความทนทาน หรือเพิ่มน้ำหนัก
การสังเคราะห์
ไพลินสังเคราะห์ส่วนใหญ่ผลิตโดยกรรมวิธีเวอร์นุยล์ (Verneulmethod) โดยการโปรยผงอะลูมิน่าผสมกับธาตุให้สี ผ่านเปลวไฟอุณหภูมิสูง
จนผงอะลูมิน่าหลอมเหลว แล้วให้ตกผลึกบนแท่นหมุน
การตรวจสอบ
การสังเคราะห์ไพลินและซัฟไฟร์แฟนซีมีมานานแล้ว ส่วนใหญ่ซัฟไฟร์สังเคราะห์มีสีเข้มสวยงาม เนื้อใสสะอาด ปราศจากมลหิน ดังนั้น
ถ้าเห็นซัฟไฟร์เนื้อใสสะอาด ก็ให้สงสัยไว้ก่อนอีกอย่างหนึ่ง สีของไพลิน และฟไฟร์สังเคราะห์ มักมีสีสม่ำาเสมอในทุก ๆ มุม และไม่มีสีอื่นเจือปน
ถ้าให้แน่ใจมากขึ้น ควรตรวจดูเส้นโค้ง ซึ่งต้องสังเกตภายใต้กล้องขยาย30 เท่า และต้องวางพลอยในตำแหน่งที่ถูกต้องเพราะเส้นโค้งนี้ เห็นได้เพียงบางทิศทางเท่านั้น บางครั้งอาจต้องจุ่มพลอย ในน้ำยาเมทิลีน ไอโอไดด์(Methylene iodide) ที่มีค่าดัชนีหักเหใกล้เคียงกับของไพลิน และซัฟไฟร์ ทำให้มองเห็นเส้นโค้งได้ชัดขึ้น เส้นโค้งเหล่านี้เป็นเส้นการเจริญเติบโต(Growth Lines) ของผลึกซัฟไฟร์ที่เกิดสะสมบนแท่งล่อผลึก โดยที่แท่งนี้จะหมุนอย่างช้า ๆ ตลอดเวลา เพื่อให้ผลึกเกาะได้ดีขึ้น ถ้าเป็นไพลิน หรือซัฟไฟร์ธรรมชาติ เส้นการเจริญเติบโตจะเป็นเส้นตรง
ไพลินสตาร์ได้จากการช่าน
นอกจากเส้นโค้งแล้ว ควรสังเกตมลทินแปลกปลอมที่ไม่ใช่เป็นมลทินธรรมชาติ เช่น เศษโลหะ หรือ ฟองอากาศขนาดเล็ก เป็นต้น
เส้นโค้งในไพลินสังเคราะห์ เส้นตรงในไพลินธรรมชาติ
อัญมณีเทียบเคียง
พลอยธรรมชาติที่คล้ายไพลินมีไม่กี่ชนิด เช่น แทนชาไนต์ และไอโอไลต์ พลอยทั้งสองชนิดนี้ ยังไม่ค่อยแพร่หลายมากนักพลอยซีแซดและวัสดุสังเคราะห์อื่น เช่น แก้วหลอมสีน้ำเงินเข้มที่เรียกว่า Cobalt blue glass นิยมนำมาเลียนแบบไพลินเช่น จากนั้นยังพบไพลินเทียมในรูปของพลอยปะ โดยใช้พลอย เนื้อใส ไม่มีสี และมีราคาถูกกว่า เช่น ควอตซ์ โทปาซ ซัฟไฟร์สีขาว ไพลินสีจาง ๆ หรือแก้วใส ปะด้านบน ส่วนด้านล่าง ใช้แผ่นแก้วสีน้ำเงินเข้ม หรือแผ่นไพลินบางๆพลอยยปะเหล่านี้ จะคล้ายกับไพลินธรรมชาติมาก โดยเฉพาะถ้าใช้ซัพไซร์ปะดัานบน เพราะคุณสมบัติรวมทั้งมลหินที่เห็น เป็นเช่นเดียวกับไพลินธรรมชาติทุกอย่าง การตรวจสอบพลอปะถ้ายังไม่มีตัวเรือนจะทำได้ง่ายกว่า โดยจุ่มพลอยลงในน้ำมันมะกอก หรือน้ำมันกานพลู จะทำให้มองเห็นรอยปะชัดเจนยิ่งขึ้น
ซัฟไฟร์แฟนซี
ซัฟไฟร์เแฟนซี เป็นซัฟไฟร์สีอื่นที่นอกเหนือจากสีน้ำเงินและสีแดง ลักษณะโทนสีของรัฟไฟร์ส่วนใหญ่ขึ้นกับชนิดและปริมาณของธาตุร่องรอย (Trace
elements) ที่เข้ามาแทนที่ธาตุอะลูมิน่าภายในโครงสร้าง ส่วนซัฟไฟร์เนื้อทึบมักเนื่องจากมีมลทินปะปนในเนื้ออยู่มาก ชนิดซัฟไฟร์แฟนซีมีหลายชนิด ได้แก่
ซัฟไฟร์ดำ (Black sapphire) เป็นซัฟไฟร์ที่มีสีน้ำเงินเข้มมากจนออกมืดคล้ายสีดำ หรือที่เรียกว่า นิลกาฬ ดังนั้นนิลกาฬเป็นนิลเนื้อแข็ง และเนื้อไม่ทึบแสง เป็นนิลต่างตระกูลจากนิลตะโก และนิลเสี้ยนคนสมัยก่อนเปรียบสีพลอยนี้คล้ายสีท้องฟ้าที่มีเมมทะมึนปกคลุมดังที่ว่า "สีหมอกเมฆนิลกาฬ" สีดำนี้เกิดจากมลทินผลึกเข็มรูไทล์ (Rutile) ปนกับมลทินผลึกแผ่นแร่เหล็กฮีมาไทต์ (Hematite) นิลกาฬบางเม็ดออกเหลือบหรือประกายสีทองน้ำตาล
ซัฟไฟร์เขียว (Green sapphire) ที่เรียกกันว่า พลอยเขียวส่องมีชื่อมากคือ พลอยเขียวส่องบางกะจะ จังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่เป็นสีเขียวค่อน
ข้างเข้ม อมน้ำเงินนิด ๆ ด้วยความที่มีสีเขียว บางทีเรียกว่า มรกตเมืองจันทร์หรือมรกตจันท์ มีสีเขียวคล้ำกว่าสีเขียวของมรกตจริงอย่างเห็นได้ซัด พลอยเขียวส่องบางกะจะมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวคือ แถบสี (Color bands)ที่มักเรียกกันว่า ลายหิน
พัดพารัดชา (Padparadscha sapphire) เป็นซัฟไพร์สีส้มเหลืองอมชมพู หรือสีชมพูอมส้ม คำว่าพัดพารัดชา เป็นภาษาสิงหล หมายถึง
ดอกบัวที่บานสะพรั่งสีของพัดพารัดชามีหลายสีเจือกันอยู่ โดยมีสีชมพูเป็นสีพื้นและมีสีส้ม, สีเหลือง หรือสีแดง
พลอยเขียวส่องบางกะจะ
เจืออยู่เสมอ ซึ่งอาจมีสีส้มเด่น หรือสีเหลืองเด่น แต่ต้องมีสีชมพูอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้นควรเข้าใจว่า พัดพารัดชาไม่ใช่ ช้ฟไฟร์สีส้ม หรือซัฟไฟร์สีชมพู แต่
มีทั้งสองสีกลมกลืนเข้าด้วยกันพัดพารัดชาส่วนใหญ่มีมลทินผลึกแร่ปะปน ยิ่งสีเข้มก็ยิ่งมีมลทินมากขึ้นด้วย พัดพารัดชาที่มีเนื้อใสสะอาด สีสดและเข้ม พบหาได้ยากมาก และมีมูลค่าสูงพอ ๆ กับทับทิม หรือไพลินคุณภาพดีพัดพารัดชาพบครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา ต่อมาพบซัฟไฟร์สีคล้ายกับพัดพารัดชา ที่หุบเขาอุมบา (Umba valley) ในประเทศแทนซาเนีย เป็นซัฟไฟร์สีส้มอมแดง
ซัฟไฟร์ชมพู (Pink sapphire) มีสีชมพูอ่อนจนถึงสีชมพูเข้ม หรือ เจือสีแดง สีพื้นเป็นโทนสีชมพู ยังไม่จัดเป็นทับทิม ส่วนใหญ่เป็นสีชมพูอ่อน
สีสม่ำเสมอ ไม่มีลายหินเหมือนในซัฟไฟร์สีแฟนซีอื่น ๆถ้ามีสีชมพูสดจะมีราคาแพง
ซัฟไฟร์ขาว (White sapphire) เป็นซัฟไฟร์ที่ไม่มีสี หรือเจือสีน้ำเงิน เหลือง ชมพู จาง ๆ ซัฟไฟร์สีขาวบริสุทธิ์เป็นชนิดหายาก ด้วยความแข็ง และประกายสดใสจึงนิยมนำไปทำเครื่องประดับแทนเพชร
ซัฟไฟร์เหลือง (Yellow sapphire) มีหลายโทนสี ได้แก่ สีเหลืองอ่อน หรือเหลือง
บุศร์ซีลอน
ออกขาวคล้ายสีของเนยถึงสีเหลืองปานกลาง บางแห่งนิยมใช้แทนเพชรสีเหลืองสีที่นิยมมากและมีราคาสูงเป็นสีเหลืองเข้มถึงสีเหลืองอมส้ม หรือที่เรียก
เหลืองแม่โขง ซัฟไฟร์สีเหลืองที่จังหวัดจันทบุรีมักมีสีเขียวเจืออยู่ด้วย เรียกว่าบุศร์น้ำแตง ถ้าเป็นสีเหลืองทองเรียกว่า บุศร์น้ำทอง ซัฟไฟร์สีเหลืองอาจได้จาก
การเผาซัฟไฟร์สีเขียว
กิวด้า (Geuda) เป็นซัฟไฟร์คุณภาพต่ำจากประเทศศรีลังกา มีสีน้ำเงินจาง ๆ หรือสีเหลืองจาง ๆ เนื้อขุ่น เพราะมีมลทินปนมาก โดยเฉพาะมลทินรูปเข็มขนาดเล็ก แต่เมื่อนำมาอบที่ความร้อนสูงเป็นเวลาหลายชั่วโมง มลหินรูปเข็มสลายซึมหายเข้าไปในเนื้อพลอย ทำให้เนื้อพลอยใสขึ้น มลทินรูปเข็มเป็นผลึกแร่รูไทล์ที่มีธาตุไททาเนียม
เป็นธาตุหลัก เมื่อธาตุไททาเนียมเข้าไปรวมกับธาตุเหล็กที่ปนในเนื้อพลอยให้สีน้ำเงินของพลอยเข้มขึ้นและสดขึ้น ได้ไพลินที่มีคุณภาพดี ราคาสูง จึงนิยมนำเอา
พลอยกิวด้ามาอบกัน แหล่งที่สามารถอบซัฟไฟร์ได้สวย และมีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ จังหวัดจันทบุรี สถานที่ซึ่งมีชื่อในการอบพลอยที่ดังระดับโลก
บุศร์น้ำแตง
บุศร์น้ำแตงจากจันทบุรี
ซัฟไฟร์ทราปิชซี่ (Trapiche saphhire) เป็นซัฟไฟร์สีใดก็ได้ ที่มีมลทินเรียงตัวเป็นแนวสามแนว ทำมุมกันประมาณ120 องศา ตัดกันเป็นหกแฉก ตามแนวแกนผลึกสามแกนที่อยู่ในระนาบเดียวกัน ลักษณะการเรียงตัวมลทินแบบนี้เรียกว่า ทราปิช (Trapiche)ลักษณะทราปิชชี้นี้พบในมรกตเช่นกัน เรียกว่า มรกตทราปิชชี่ (Trapicheemerald) ส่วนใหญ่แล้วพลอยทราปิชชี่ป็นพลอยเนื้อขุ่น ไม่ค่อยสะอาด และไม่ค่อยเวววาว จึงไม่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ แต่เป็นพลอยที่หายาก จึงนิยมเก็บสะสมไว้