ทับทิม เป็นพลอยเนื้อแข็งที่มีเฉดสีแดงอย่างชัดเจนเท่านั้น ไม่ว่าจะแดงเข้ม แดงอมม่วง แดงออกน้ำเงิน หรือแดงอ่อน แต่ต้องไม่เป็นสีชมพู
ตระกูลแร่
ทับทิม เป็นพลอยในตระกูลเดียวกันกับซัฟไฟร์หรือไพลิน คือ ตระกูลแร่ออรันดัม (Corundum) มีสูตรเคมีเป็น AI,03 โครงสร้างผลึกอยู่ในระบบ
ฐานสามเหลี่ยม (Trigonal system) ดังนั้นไพลิน และทับทิมจึงมีคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางแสงเหมือนกัน
แหล่งที่พบ
แหล่งทับทิมมีหลายแหล่งทั่วโลก ทั้งในทวีปแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลียและ อเมริกเหนือ แหล่งที่สำคัญและมีชื่อเสียงมากที่สุด ได้แก่ พม่า ศรีลังกา
และไทย ทับทิมที่ได้ชื่อว่ามีเนื้อสะอาด และน้ำงามที่สุด ได้แก่ ทับทิมจากแหล่งพม่า เป็นทับทิมที่เกิดในหินอ่อน เนื้อจึงค่อนข้างใสสะอาด และมีสีแดงสด ทับทิม จากแหล่งในประเทศไทยมักมีสีแดงเข้มจนถึงค่อนข้างคล้ำ หรือมีสีแดงอมน้ำตาล ที่เรียกว่าแดงเลือดนก เพราะมีธาตุเหล็กเข้าไปปนอยู่ด้วย
เป็นทับทิมที่เกิดในหินภูเขาไฟบะซอลต์ ทับทิมจากประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน และ เวียดนาม เป็นทับทิมที่มีสีแดงเข้มและสด ส่วนทับทิมที่มาจากประเทศออสเตรเลีย อินเดีย รัสเซีย และ อเมริกา มักเป็นทับทิมที่มีสีแดงคล้ำจนเกือบดำ
คุณสมบัติทั่วไป
อันดับความแข็ง ค่าดัชนีหักเห 1.76-1.77 ความถ่วงจำเพาะ 4.0
คุณสมบัติเฉพาะตัว
สีแดงของทับทิมมาจากธาตุโครเมียม (Cr) ที่แทรกเข้ามาในปริมาณเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1 ของน้ำหนักสารประกอบทั้งหมด (1% Cr203 โดย
น้ำหนัก) ความเข้มของสีแดงขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุโครเมียม ถ้ามีปริมาณธาตุโครเมียมน้อย จะได้สีชมพู หรือชมพูอมแดง พลอยคอรันดัมที่มีสี
โทนชมพู ไม่นับเป็นทับทิม จะเรียกเป็นซัฟไฟร์สีชมพู (Pink sapphire) แทน
รูปทรงนิยมในการเจียระไน
ทับทิมชนิดที่ใส เนื้อดี เจียระไนหน้าเหลี่ยมเกสรรูปต่าง ๆ เช่น รูปกลม รูปรี รูปไข่ รูปหัวใจ ถ้าเป็นชนิดเนื้อขุ่น เช่น ชนิด "กินบ่เซี้ยง" เจียระไนเป็น
รูปหลังเบี้ย (Cabochon)
ระดับความนิยมในโลกอัญมณี
ทับทิม ถือเป็น "ราชินีแห่งอัญมณีสีแดง" ที่มีสีแดงดั่งเลือดและความแข็งที่ไม่เป็นรองพลอยสีแดงชนิดใด ๆ เป็นพลอยสีแดงที่มีราคาสูงที่สุดในพลอย
ตระกูลคอรันดัม ด้านมูลค่าจัดเป็นอัญมณีอันดับสองรองจากเพชรเท่านั้น
ความเชื่อ
เชื่อกันว่า ทับทิมเป็นอัญมณีของดาวอังคารและของพระอาทิตย์ ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองและเพิ่มความเข้มแข็งของจิตใจแก่ผู้สวมใส่
ทับทิมเป็นอัญมณีประจำเดือนกรกฎาคม
การดูแลรักษา
เชนเดียวกับไพลิน และซัฟไฟร์อื่น ๆ ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษยกเว้นที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ควรหลีกเสี่ยงการใช้สารเคมี และเครื่องอัลตราโชนิคในการทำความสะอาด
การปรับปรุงคุณภาพ
สีแดงของทับทิมมีหลายเฉด ตั้งแต่แดงอมชมพู แดงอมม่วง แดงอมส้ม แดงเข้ม ขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุโครเมียมและธาตุเหล็ก ถ้าธาตุเหล็กมาก
ทำให้พลอยมีสีแดงคล้ำหรือแดงอมม่วง จึงมีการปรับสี่ทับทิมโดยการอบที่อุณหภูมิสูงเพื่อไล่สีคล้ำและสีม่วงออกไป หรือที่เรียกว่า "เผาเพื่อถอยสี"
ทับทิมจากเมืองไทยมีเหล็กค่อนข้างสูง จึงให้สีแดงคล้ำ แดงอมน้ำตาล ถึงอมม่วง จึงมักนำไปเผาเพื่อให้สีพลอยใสขึ้น ถ้ามีการเติมแดง ในขณะที่อบพลอย สารเคมีจะหลอมและซึมเข้าไปตามรอยแตก เมื่อเย็นตัวสารเคมีนี้จะตกผลึกคล้ายเนื้อแก้วใส ทำให้สีของทับทิมดูสว่างขึ้น แต่การเติมสารเคมีเพื่อถอยสียังไม่ได้รับการยอมรับกันเพราะถือว่ามีสิ่งปลอมปนเข้ามา และควรเปิดเผยต่อลูกค้า สิ่งปลอมปนนี้ค่อนข้างสังเกตยากเพราะมีเนื้อในกลมกลืนกับเนื้อทับทิมหรือแทรกในรอยแตกเล็ก ๆ ต้องใช้เลนส์ขยายอย่างน้อย 20 เท่าขึ้นไป และ พลิกพลอยไปมาให้กระทบกับแสงเศษเนื้อแก้วนี้ จะสะท้อนความแวววาวออกมาต่างจากเนื้อทับทิม
มลทินลายหินที่ทำขึ้นในทับทิมสังเคราะห์
การสังเคราะห์
การสังเคราะห์ทับทิมทำได้หลายวิธี เช่น กรรมวิธีเวอร์นุยล์ (Verneuilmethod) กรรมวิธีการตกผลึกในสารหล่อมเหลวหรือฟลักซ์ (Flux method) กรรมวิธีโซคราวสกี้ (Czochralsky)กรรมวิธีตกผลึกในสารละลาย (Hydro thermal process) เป็นต้น ทับทิมสังเคราะห์มีคุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติเฉพาะเช่นเดียวกับทับทิมธรรมชาติ แต่ทับทิมสังเคราะห์ส่วนใหญ่มีเนื้อใสสะอาดกว่าอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการทำตำหนิรอยนิ้วมือในเนื้อทับทิมสังเคราะห์เวอร์นุยล์ให้ดูเหมือนกับทับทิมธรรมชาติ ซึ่งทำได้เหมือนมาก
การตรวจสอบ
ในการวิเคราะห์ส่วนประกอบของทับทิมธรรมชาติ พบว่า มีร่องรอยของธาตุแกลเลี่ยม (Ga) อยู่เสมอ จึงใช้ธาตุนี้เป็นตัวดัชนีในการแยกระหว่างทับทิม
ธรรมชาติ และทับทิมสังเคราะห์ เป็นวิธีการแยกที่ได้ผลมาก แต่ต่อมาผู้ผลิตทับทิมสังเคราะห์ ได้ใส่ธาตุแกลเลี่ยมลงไปด้วย ทำให้การใช้ธาตุแกลเลี่ยมในการแยก
พลอยซีแซด ทับทิมสังเคราะห์เนื้อใส ทับทิมธรรมชาติ ทับทิมสังเคราะห์เนื้อขุ่นมีมลทิน
ไม่ได้ผล
โดยทั่วไปแล้ว ทับทิมธรรมชาติมักมีตำหนิและมลทินผลึกแร่ หรือ มลหินของเหลว ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่าหรือเมื่อใช้เลนส์ขยาย
10 เท่า ตำหนิและมลทินที่พบบ่อย ได้แก่ ผลึกเข็มรูไทล์ มลทินรูปพิมพ์ลายนิ้วมือ (Finger print) มลหินรูปผ้าพลิ้ว (Veil) มลหินผลึกแร่ เช่น แร่
ไพไรต์ และแร่แคลไซต์ เป็นต้น
ทับทิมที่มีมลทินมากไป ทำให้เนื้อดูไม่สะอาด ราคาลดลง ยิ่งมีมลทินน้อยเนื้อก็ยิ่งสะอาด ทับทิมก็จะยิ่งมีราคาสูงขึ้นแต่ทับทิมที่ไม่มีตำหนิ หรือมลทิน
ใด ๆ เลย หายากมากในธรรมชาติ ด้งนั้นทับทิมที่มีเนื้อสะอาดมาก ควรสงสัยไว้ก่อนว่า เป็นทับทิมสังเคราะห์ มลหินในทับทิมสังเคราะห์บางชนิด มีลักษณะคล้ายมลทินที่พบในทับหิมธรรมชาติ เช่น ตำหนิรอยนิ้วมือ มลหินของเหลว และรอยแตกที่สมาน (Healed fracture) อย่างไรก็ตม ผู้ที่มีประสบการณ์สามารถยกแยะออกได้
อัญมณีเทียบเคียง
พลอยทีนียมนำมาเลียนแบบทับทิมมีหลายชนิด ส่วนใหญ่มีมูลค่าต่ำกว่าทับทิมหลายเท่าตัว ในบางแหล่งหรือบางประเทศ เรียกชื่อพลอยคล้ายทับทิมว่าทีบทิม ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นทับหิมจริง จึงควรทราบชื่อเหล่านี้ไว้ เพื่อป้องกันความสับสน ตัวอย่างเช่น
- ทับทิมอะดิแลด (Adelaide ruby) ทับทิมโบฮีเมียน (Bohemian ruby) ทับทิมอะริโซน่า (Arizona ruby) และ ทับทิมโคโลราโด (Colorado ruby) หมายถึง การ์เนตสีแดง ชนิดโกเมน (Almandine) และไพโรป (Pyrope) ถ้าเป็นการ์เนตสีแดงที่มาจากประเทศแอฟริกาใต้ มักเรียกว่า ทับทิมเคพ (Cape ruby)
- ทับทิมอเมริกัน (American ruby) และ ทับทิมมองบลังค์ (Mont Blanc) หมายถึง ควอตซ์สีดอกกุหลาบ (Rose quartz)
- ทับทิมเนื้ออ่อน หมายถึง สปีเนลสีแดงถึงแดงอมชมพู
- ทับทิมบราชิล (Brazilian ruby) หมายถึง ทัวร์มาลีนสีชมพู
- ทับทิมไซบีเรีย (Siberian ruby) หมายถึง ทัวร์มาลีนสีชมพูเข้มถึงสีชมพูอมแดง
อย่างไรก็ตามพลอยสีคล้ายทับทิมเหล่านี้ มีความสวยงาม และมีเสน่ห์เฉพาะตัว ม้ว่ามูลค่าไม่เท่าเทียมทับทิม
สปีเนลแดง เป็นพลอยที่มีความสวยงามใกล้เคียงทับทิม จึงมักสับสนกับทับทิมอยู่บ่อย ๆ เช่น พลอยสีแดงขนาดใหญ่ที่ประดับอยู่ที่มงกุฎของราชินี
อลิซาเบธเห่งราชวงศ์อังกฤษ ที่มีชื่อเรียกว่า ทับทิมแห่งทิเมอร์ (Timur ruby)ที่จริง คือ สปิเนลสีแดงที่มีขนาดใหญ่ถึง 352 กะรัต เชื่อกันว่า สปีเนลสีแดงมาจากประเทศพม่า ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิตสปีเนลสีแดงคุณภาพดีนอกจากสีแดงแล้ว สปิเนลยังมีสีอื่น ๆ หลายสี สีที่หายากที่สุด ได้แก่สบิเนลสีน้ำเงินเข้มสด บางครั้งเรียกว่า สปิเนลสีโคบอลต์ ส่วนใหญ่ได้มาจากการสังเคราะห์
ที่จริงแล้ว สปิเนลสีแดงและสีน้ำเงิน ยังหายากกว่าทับทิม หรือไพลินเสียอีก
เนื่องจากสปิเนลมีความแข็งน้อยกว่าทับทิมไปหนึ่งอันดับ จึงเรียกสปิเนลสีแดงว่า ทับทิมเนื้ออ่อน แต่คงเป็นเพราะความหายาก จึงทำให้สปิเนลไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และทำให้สปิเนลมีมูลค่าไม่เท่าเทียมดังเช่น ทับทิมและไพลิน
การแยกสปิเนลออกจากทับทิม ทำได้อย่างง่าย ๆ โดยการใช้โพลริสโคปตรวจสอบการหักเห (ดูรายละเอียดโพลาริสโคปและการใช้ภายในเล่ม) โดยที่ถ้าเป็นสปิเนลจะมืดตลอด เพราะเป็นพลอยหักเหเดี่ยว แต่ถ้าเป็นทับทิมจะมืดและสว่างสลับกัน เพราะเป็นพลอยหักเหคู่
การ์เนต เป็นพลอยที่พบเป็นจำนวนมาก ราคาไม่สูง สีแดงของการ์เนตมักออกคล้ำ หรือเจือสีน้ำตาล ซึ่งแตกต่างจากสีแดงของทับทิม การ์เนตมีหลาย
ผลึกพลอยสปิเนล
สี เช่น สีแดง สีส้ม สีน้ำตาล สีชมพู สีเขียวคล้ายมรกต เป็นต้น ชนิดที่มีเฉดสี เช่น สีแดง สีส้ม สีน้ำตาล สีชมพู สีเขียวคล้ายมรกต เป็นต้น ชนิดที่มีเฉดสีแดง ได้แก่
-อัลมานดีน (AlImandine) มีสีแดงเข้มจนดูมืด หรือเจือสีน้ำตาลด้วยทำให้มีสีแดงคล้ำ ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า โกเมน เป็นชนิดที่พบมากที่สุด
อัลมานดีน(Almandine)
-ไพโรป (Pyrope) มีสีแดงเข้มสด ซึ่งมักมีธาตุโครเมียมเข้ามาเจือปน ทำให้มีสีแดงอมม่วง ไพโรปหายากกว่าอัลมานดีน
-โรโดไลต์ (Rhodolite) มีสีชมพูอมแดง เป็นการ์เนตชนิดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอัลมานดีนและไพโรป สังเกตว่า สีชมพูนั้นออกคล้ำๆ
การแยกการ์เนตออกจากทับทิมอย่างง่าย ๆก็ทำได้เช่นเดียวกับการตรวจสอบสปี้เนล โดยการหมุนเม็ดพลอยภายใต้โพลาริสโคป โดยที่การ์เนตจะมืดตลอด ถ้าเป็นทับทิมจะมืดและสว่างสลับกัน ทัวร์มาลีน เป็นพลอยที่มีความสวยงาม และมีหลายสีสัน เช่น สีน้ำเงินอมเขียวคล้ายสีครามเรียกว่าอินดิโคไลต์(Indicolite) ตามชื่อสี ทัวร์มาลีนสีเขียวมรกตทัวร์มาลีนสองสี เช่น ทัวร์มาลีนสีแตงโม มีสีชั้นนอกเป็นสีเขียวและสีชั้นในเป็นสีแดงชมพู หรือแดงม่วง
ส่วนชนิดที่นำมาใช้เลียนแบบทับทิมมีสีชมพู หรือชมพูออกแดง เรียกว่า รูเบลไลต์ (Rubellite)*
โรโดไลต์ (Rhodolite)
*มักออกเสียงเพี้ยนเป็น "รูบี้ไลต์" ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นชนิดหนึ่งของทับทิมแดงม่วงทัวร์มาลีนมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 3.1 ซึ่งต่ำกว่าทับทิมเมื่อใส่ลงไปในกล่องน้ำยาเมทิลีน ไอโอไดด์ (Methylene iodide) ที่มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 3.32 ทัวร์มาลีนจะลอย แต่ทับทิมจะจมลงทัวร์มาลีนยังมีค่าดัชนีหักเหแสง 1.62-1.64 ซึ่งน้อยกว่าของทับทิมที่มีค่าประมาณ 1.77
ควอตซ์สีชมพู เป็นพลอยที่มักมีเนื้อขุ่นกึ่งโปร่งแสง และสีชมพู มักมีสีจาง แตกต่างจากขับทิมอย่างเห็นได้ชัด ควอตซ์มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 2.67น้อยกว่าของทับทิมอย่างชัดเจน และมีค่าดัชนีหักเหแสง 1.54 ต่ำกว่าของทับทิมที่มีค่าประมาณ 1.77
นอกจากอัญมณีเทียบเคียงทับทิมธรรมชาติที่กล่าวมาแล้ว ยังมีพลอยซีแซดสีแดงและแก้วใสสีแดงที่ทำขึ้นเพื่อเลียนแบบทับทิม พลอยเทียมทั้งสองชนิดนี้เป็นพลอยหักเหเดี่ยว (SR) ในขณะที่ทับทิมเป็นพลอยหักเหคู่ (DR)
รูเบลไลต์