พลอยสตาร์ (STAR GEMSTONES)
พลอยสตาร์ เป็นพลอยที่เทพเจ้าประทานให้กับมนุษย์
เพื่อเป็นตัวแทนดวงดาว บนฟากฟ้า พลอยสตาร์จึงมีพลังของเทพเจ้า
พลอยสตาร์ เป็นพลอยที่แสดงปรากฏการณ์การเล่นแสงเป็นแฉกคล้ายดอกจันหรือดวงดาว ปรากฏการณ์ทางแสงเช่นนี้ เรียกว่า แอสเทอร์ซึ่ม (Asterism) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า แอสเทอร์ (Aster) แปลว่า ดาวคนไทยเรียก "พลอยสาแหรก" ปัจจุบันนิยมเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า
"พลอยสตาร์" ลักษณะสตาร์มีหลายแบบ เช่น สตาร์สี่แฉก สตาร์หกแฉก สตาร์แปดแฉก จนถึงสตาร์สิบสองแฉก จะเห็นว่า จำนวนแฉกของสตาร์จะเป็นเลขคู่เท่านั้น และโดยทั่วไปแล้ว แต่ละแฉกจะอยู่ห่างเท่า ๆ กัน พลอยสตาร์จัดเป็นพลอยที่หายาก มีพลอยเพียงไม่กี่ชนิด และจากเพียงไม่กี่แหล่งเท่านั้นที่มีสตาร์
ตระกูลแร่
พลอยสตาร์ที่พบมากที่สุด คือ คอรันดัมสตาร์ รองลงมาได้แก่ สตาร์แขกและ ควอตซ์สตาร์ ตามลำดับ
คอรันดัมสตาร์ เป็นพลอยตระกูลคอรันดัม จัดเป็นพลอยสตาร์เนื้อแข็ง มีสูตรเคมีเป็น A1,03 โครงสร้างผลึกอยู่ในระบบฐานสามเหลี่ยม
สตาร์แขก เป็นพลอยตะกูลไดออบไซด์ (Diopside) เป็นพลอยสตาร์เนื้ออ่อนที่สุด มีสูตรเคมีเป็น MgCaSi, 06 โครงสร้างผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic)
ควอตซ์สตาร์ เป็นพลอยตระกูลควอตซ์ (Quartz) มีสูตรเคมีเป็น SiOz โครงสร้างผลึกอยู่ในระบบฐานสามเหลี่ยม (Trigonal system) เช่นเดียวกับโครงสร้างผลึกของคอรันดัมสตาร์
แหล่งที่พบ
แหล่งคอรันดัมสตร์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ประเทศพม่า ศรีลังกา และไทยคอรันดัมสตาร์จากประเทศพม่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นพลอยสตาร์สีม่วงอมน้ำเงิน มีขนาดใหญ่ถึง 330 กะรัต หลังจากเจียระไนแบบหลังเบี้ยแล้วแสดงสตร์ที่คมชัดสวยงาม จนได้ชื่อว่า พลอยสตร์แห่งเอเชีย (The star of Asia) ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน ประเทศสหรัฐอเมริกา
คอรันดัมสตาร์จากประเทศศรีลังกา มักมีขนาดใหญ่และมีสีเข้มกว่าแหล่ง อื่น ๆ พลอยสตาร์จากประเทศศรีลังกาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พลอยไพลินสตาร์แห่งอินเดีย (Indian star sapphire หรือ Star of India) เป็นพลอยสตาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักก่อนเจียระไนถึง 563 กะรัต และทับทิมสตาร์ที่มีชื่อว่า Rosser Reeves จัดเป็นทับทิมสตาร์ที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก ปัจจุบันพลอยสตาร์ทั้งสองอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งอเมริกาในมหานครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
สตาร์แขกพบในหลายแหล่ง แหล่งที่มีชื่อเสียงได้แก่ ประเทศอินเดีย นอก นั้นมาจากประเทศพม่า ศรีลังกา ออสเตรเลีย รัสเซีย ปากีสถาน แอฟริกาใต้ออสเตรีย บราซิล อิตาลี อเมริกา และฟินแลนด์
ควอตซ์สตาร์ที่พบส่วนใหญ่เป็นควอตซ์สตาร์สีชมพู (Star rose quartz) พบทั่วไปในหลายแหล่ง แต่แหล่งที่มีชื่อเสียงได้แก่ ประเทศบราชิล มาดากัสการ์และสหรัฐอเมริกา
พลอยสตาร์จัดเป็นพลอยหายาก ว่ากันว่าในจำนวนพลอย 100 เม็ดที่นำมาจากแหล่งเดียวกัน จะมีพลอยที่มีสตาร์ไม่เกิน 3 เม็ด และภายใน 3 เม็ดนี้มีพลอยสตาร์ชั้นยอดไม่เกินหนึ่งเม็ด หรืออาจจะไม่มีเลย ส่วนใหญ่มักมีตำหนิเช่น ถ้ามีสีสวยก็แสดงสตาร์ไม่ชัดเจน ถ้ามีสตาร์สวยชัดเจนก็มักมีสีขุ่นมากจนทึบจะเห็นว่าพลอยสตาร์คุณภาพดี มีไม่เกินร้อยละหนึ่งเท่านั้น